สาธารณรัฐซิมบับเว

สาธารณรัฐซิมบับเว

วันที่นำเข้าข้อมูล 12 ก.ค. 2561

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 29 พ.ย. 2565

| 6,130 view

ข้อมูลทั่วไป

ที่ตั้ง ตั้งอยู่ในภูมิภาคแอฟริกาตอนใต้ มีอาณาเขตทิศเหนือติดกับแซมเบีย ทิศตะวันออกติดกับโมซัมบิก ทิศตะวันตกติดกับบอตสวานา ทิศใต้ติดกับแอฟริกาใต้ 
 
พื้นที่ 390,580 ตารางกิโลเมตร 
 
เมืองหลวง กรุงฮาราเร (Harare) 
 
ประชากร 14.2 ล้านคน  (ประมาณการปี 2558) 
 
ภูมิอากาศ พื้นที่สูงในแถบตะวันออกและทุ่งหญ้าสูงทางตอนใต้จะมีฝนตกมากและอากาศเย็นกว่าพื้นที่ต่ำ อุณหภูมิบนทุ่งหญ้าสูงอยู่ระหว่าง 12-13 องศาเซลเซียสในฤดูฝน และสูงถึง 24 องศาเซลเซียสในฤดูร้อน อุณหภูมิในฤดูร้อนแถบหุบเขาแซมเบซิ และลิมโปโปอยู่ที่ 32-38 องศาเซลเซียส ฤดูร้อนที่มีฝนเริ่มจากปลายเดือนพฤศจิกายน-เดือนมีนาคม ฤดูหนาวและแห้งแล้ง เริ่มจากกลางเดือนพฤษภาคม-กลางเดือนสิงหาคม 
  
ภาษาราชการ ภาษาอังกฤษ 
 
ศาสนา Syncretic (ผสมผลานระหว่างศาสนาคริสต์และความเชื่อดั้งเดิม) ร้อยละ 50 คริสต์ร้อยละ 25 ความเชื่อดั้งเดิมร้อยละ 24 อิสลามและอื่นๆ ร้อยละ 1 
 
ระบอบการปกครอง ระบอบประชาธิปไตยแบบสาธารณรัฐ เป็นระบบสองสภา โดยมีประธานาธิบดี ซึ่งมาจากการเลือกตั้ง เป็นประมุขแห่งรัฐ ดำรงตำแหน่งวาระละ 5 ปี  แต่ไม่จำกัดจำนวนวาระ และมีนายกรัฐมนตรี ซึ่งมาจากการแต่งตั้งโดยประธานาธิบดี เป็นผู้นำรัฐบาล
 
ประธานาธิบดี นายรอเบิร์ต เกเบรียล คารีกามอมเบ มูกาเบ (Mr. Robert Gabriel Karigamombe Mugabe) ดำรงตำแหน่งเมื่อ 31 ธันวาคม 2530
 
รัฐมนตรีต่างประเทศ นายซิมบาราเช มุมเบนเกกวิ Mr. Simbarashe S. Mumbengegwi (เข้ารับตำแหน่งวันที่ 15 เม.ย. 2548)
 
อัตราแลกเปลี่ยน : ดอลลาร์ซิมบับเว (ZWD) (1 บาท = 10.41 ZWD) (สถานะ ณ วันที่ 1 ส.ค. 2559) 
 
ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ 13.91 พันล้าน USD* (ไทย: 395.2 พันล้าน USD) 
 
รายได้ประชาชาติต่อหัว  1,064.35 USD (IMF)  (ไทย: 5,878.2 USD) 
 
การขยายตัวทางเศรษฐกิจ ร้อยละ 1.4*  (ไทย: ร้อยละ 2.8)
 
อัตราเงินเฟ้อ  ร้อยละ 0.1*  (ไทย: ร้อยละ -0.9) 
 
เงินทุนสำรอง : 457  ล้าน USD* (ไทย: 156.5 พันล้าน USD)
 
อุตสาหกรรมหลัก : เหมืองแร่ (ถ่านหิน ทอง ทองคำขาว ทองแดง นิกเกิล ดีบุก ดินเหนียว สินแร่) เหล็กกล้า ผลิตภัณฑ์จากไม้ ซีเมนต์ ปุ๋ยเสื้อผ้าและรองเท้า อาหาร เครื่องดื่ม
 
สินค้านำเข้าที่สำคัญ : เครื่องจักรและอุปกรณ์ขนส่ง สินค้าอุตสาหกรรมอื่นๆ เคมีภัณฑ์ เชื้อเพลิง อาหาร
 
สินค้าส่งออกที่สำคัญ : ทองคำขาว ฝ้าย ยาสูบ  ทองคำ  โลหะผสมของเหล็ก สิ่งทอ เครื่องนุ่งห่ม
 
ประเทศคู่ค้าสำคัญ นำเข้าจาก : แอฟริกาใต้ จีน ส่งออกไปยัง สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก แอฟริกาใต้ บอตสวานา จีน แซมเบีย เนเธอร์แลนด์ สหราชอาณาจักร
 

การเมืองการปกครอง

ซิมบับเวปกครองในระบอบประชาธิปไตย แบบสาธารณรัฐ มีประธานาธิบดีที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชน เป็นประมุขแห่งรัฐ ดำรงตำแหน่งวาระละ 5 ปี แต่ไม่จำกัดจำนวนวาระ ฝ่ายบริหาร มีนายกรัฐมนตรีที่มาจากการแต่งตั้งโดยประธานาธิบดี เป็นผู้นำรัฐบาล (ปัจจุบันอยู่ภายใต้ power-sharing deal ซึ่งกำหนดให้ผู้นำฝ่ายค้านดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี) คณะรัฐมนตรีมาจากการแต่งตั้งโดยประธานาธิบดี ฝ่ายนิติบัญญัติเป็นระบบสองสภา ประกอบด้วยวุฒิสมาชิกจำนวน 93 ที่นั่ง (60 ที่นั่งมาจากการเลือกตั้ง มีวาระ 5 ปี / 10 ที่นั่งมาจากนายกเทศมนตรีเขตโดยได้รับการเสนอชื่อจากประธานาธิบดี / 16 ที่นั่งมาจากผู้นำท้องถิ่นโดยผ่านการเลือกตั้งของคณะมนตรีผู้นำ / 2 ที่นั่งเป็นของประธานและรองประธานคณะมนตรีผู้นำ / 5 ที่นั่ง มาจากการแต่งตั้งโดยประธานาธิบดี) และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวน 210 ที่นั่ง (ทั้งหมดมาจากการเลือกตั้ง มีวาระ 5 ปี) เลือกตั้งครั้งล่าสุด (ทั้ง 2 สภา) เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2551 ฝ่ายตุลาการประกอบด้วยศาลสูงสุดและศาลสูง 
  
บริเวณประเทศซิมบับเวในปัจจุบัน ในอดีตคือดินแดน Southern Rhodesia ซึ่งถูกเจ้าอาณานิคม (อังกฤษ) รวมเข้ากับ Northern Rhodesia (ปัจจุบันคือแซมเบีย) และ Nyasaland (ปัจจุบันคือมาลาวี) และก่อตั้งขึ้นเป็นสหพันธรัฐแอฟริกากลาง (The Central African Federation) ในปี 2496 (ค.ศ.1953) โดยสหพันธรัฐแอฟริกากลางนี้มีกรุงซาลิสบิวรี่ (Salisbury) (ปัจจุบันคือ กรุงฮาราเร) เป็นเมืองหลวง ภายหลังมาลาวีและแซมเบียได้รับเอกราช สหพันธรัฐแอฟริกากลางนี้ ก็ล่มสลาย ดินแดน Southern Rhodesia จึงได้เปลี่ยนชื่อเป็น Rhodesia โดยอยู่ภายใต้การปกครองของรัฐบาลผิวขาวของนายเอียน สมิทธ์ (Ian Smith) ซึ่งได้ประกาศแถลงการณ์อิสรภาพฝ่ายเดียว (Unilateral Declaration of Independence - UDI) ในปี 2508 (ค.ศ.1965) โดยมีจุดยืนคือ การประกาศเอกราชจากอังกฤษ 
 
คนผิวดำในซิมบับเว ซึ่งเป็นชนกลุ่มใหญ่ของประเทศ มีกระบวนการต่อต้านการปกครองของคนผิวขาวในรูปแบบของกองกำลังทหารคือ สหภาพชาวแอฟริกันแห่งชาติซิมบับเว (The Zimbabwe African National Union - ZANU) ซึ่งนำโดยนายโรเบิร์ต มูกาเบ (Robert Mugabe) กลุ่ม ZANU เป็นศูนย์รวมของการต่อสู้ทาง การเมืองของชาวผิวดำในซิมบับเวและการเคลื่อนไหวต่อต้านการปกครองของอังกฤษ ด้วยขบวนการแบบกองโจร ในปี 2522 (ค.ศ.1979) รัฐบาลอังกฤษได้จัดประชุมหลายฝ่ายในกรุงลอนดอน ผลการประชุมนำไปสู่การเลือกตั้งในปี 2523 (ค.ศ.1980) ซึ่งกลุ่ม ZANU (เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น Zimbabwe African National Union - Patriotic Front หรือ ZANU-PF) ภายใต้การนำของนายมูกาเบ ได้รับชัยชนะและเข้าครองอำนาจการบริหารประเทศในเดือนกุมภาพันธ์ 2523 
 
ซิมบับเวได้รับเอกราชจากอังกฤษตั้งแต่ปี 2523 (ค.ศ.1980) โดยมีนายมูกาเบ เป็นนายกรัฐมนตรีระหว่างปี 2523-2530 หลังจากนั้น นายมูกาเบได้ขึ้นดำรงตำแหน่งเป็นประธานาธิบดีคนแรกของประเทศ ตั้งแต่ปี 2530 
 
หลังดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีได้ระยะหนึ่ง นายมูกาเบดำเนินนโยบายปฏิรูปที่ดิน โดยยึดที่ดินทำกินของชาวซิมบับเวผิวขาว (เชื้อสายอังกฤษ) ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 75 ของที่ดินทั้งประเทศ มาจัดสรรใหม่ให้แก่ชาวซิมบับเวผิวดำ เพื่อเรียกความศรัทธาและความนิยมของประชาชน เหตุการณ์บุกรุกที่ดินเริ่มรุนแรงขึ้นในปี 2543 ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตกว่า 40 คน และเกษตรกรผิวขาวกว่า 100 ครอบครัวต้องอพยพออกจากที่ดิน และอีกจำนวนมากต้องยุติการเพาะปลูก นโยบายปฏิรูปที่ดินนี้นำไปสู่การละเมิดสิทธิมนุษยชนและวิกฤตทางเศรษฐกิจและ สังคมอย่างรุนแรง 
 
ประเทศตะวันตกนำโดยสหรัฐฯ และสหภาพยุโรป ได้มีมาตรการ Smart/Targeted Sanctions เพื่อ ต่อต้านและกดดันรัฐบาลของนายมูกาเบตั้งแต่ปี 2545 เป็นต้นมา ประกอบด้วยการเพิกถอนสมาชิกภาพของซิมบับเวในเครือจักรภพชั่วคราวโดยไม่มี กำหนด การห้ามการเดินทางเข้าประเทศและการอายัดทรัพย์สินที่มีอยู่ในประเทศตะวันตก ของนายมูกาเบ รวมทั้งพรรคพวกและเครือญาติ อย่างไรก็ตาม เป็นที่สังเกตว่า การกดดันของประเทศตะวันตกไม่อาจทำให้วิกฤตการณ์การละเมิดสิทธิมนุษยชนในซิ มบับเวบรรเทาลงได้ ซิมบับเวได้ประกาศถอนตัวออกจากการเป็นสมาชิกของกลุ่มประเทศเครือจักรภพใน เดือนธันวาคม 2546 และฝ่ายรัฐบาลซิมบับเวได้ใช้กำลังเข้าทำร้ายร่างกายและจับกุมผู้นำฝ่ายต่อ ต้านและนักเคลื่อนไหวกว่า 40 คน เมื่อเดือนมีนาคม 2550 
 
ในเดือนมิถุนายน 2550 เอกอัครราชทูตสหรัฐฯ อังกฤษ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และแคนาดา ประจำประเทศไทย ได้เข้าพบ รองอธิบดีกรมเอเชียใต้ฯ เพื่อโน้มน้าวให้ไทยร่วมดำเนินมาตรการ Smart Sanctions ห้ามการเดินทางเข้าไทยกับนายมูกา เบและพวก แต่ฝ่ายไทยได้แสดงท่าทีไม่เห็นด้วยต่อการใช้มาตรการกดดันที่ไม่ได้อยู่ภาย ใต้มติของ UN โดยฝ่ายไทยเชื่อมั่นในการที่จะบรรลุ ข้อยุติของปัญหาบนพื้นฐานของการเจรจาร่วมกันอย่างตรงไปตรงมาและเท่าเทียมกัน ของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง และเห็นว่ามาตรการกดดันเพื่อโดดเดี่ยวซิมบับเวนั้นจะไม่ส่งผลดีต่อการแก้ ปัญหา 
 
เนื่องจากได้รับแรงต่อต้านจากประเทศตะวันตกอย่างสูง รัฐบาลซิมบับเวจึงดำเนินนโยบาย Look East แสวงหามิตรประเทศจากภูมิภาคเอเชีย โดยเฉพาะการเร่งกระชับความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจกับจีน ในส่วนของไทย รัฐบาลซิมบับเวพยายามเสริมสร้างความสัมพันธ์กับไทย โดยได้แต่งตั้งกงสุลกิตติมศักดิ์ซิมบับเวประจำไทยและได้มีความพยายามที่จะ จัดตั้งศูนย์กระจายสินค้าซิมบับเวในกรุงเทพฯ (อนึ่ง ที่ผ่านมา นายมูกาเบและภริยา เดินทางเยือนไทยเป็นการส่วนตัวบ่อยครั้ง บุตรชายของนายมูกาเบเคยศึกษาอยู่ที่มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ) 
 
เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2551 ซิมบับเวมีการเลือกตั้งทั่วไปของสถาบันการเมืองหลักของประเทศ ได้แก่ ประธานาธิบดี สมาชิกวุฒิสภา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และสมาชิกสภาท้องถิ่น ผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีปรากฏว่า นายมูกาเบ ผู้นำพรรค ZANU-PF ได้คะแนนเสียงร้อยละ 43.2 และนายมอร์แกน ชังกิราย (Morgan Tsvangirai) ผู้นำพรรค Movement for Democratic Change – MDC) ได้คะแนนเสียงร้อยละ 47.9 ซึ่งถือว่าไม่มีผู้ใดได้คะแนนเสียงเกินกึ่งหนึ่ง จึงต้องมีการเลือกตั้งรอบที่ 2 ในวันที่ 27 มิถุนายน 2551 
 
ในช่วง 3 เดือนระหว่างการเลือกตั้งประธานาธิบดีรอบที่ 1 และ 2 นั้น รัฐบาลของนายมูกาเบได้มีการใช้กำลังข่มขู่ประชาชนที่สนับสนุนฝ่ายค้านอย่าง รุนแรง โดยเฉพาะในเขตชนบท มีรายงานผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์นี้กว่า 60 คน และผู้สูญหายกว่า 30,000 คน นายชังกิราย ผู้นำฝ่ายค้าน แถลงถอนตัวจากการเลือกตั้งรอบที่ 2 เพื่อประท้วงการใช้ความรุนแรงข่มขู่ผู้สนับสนุนฝ่ายค้านของรัฐบาล โดยฝ่ายค้านยืนยันว่า มีผู้เสียชีวิตทั้งหมด 85 คน และผู้สูญหายมากกว่า 200,000 คน ผลการเลือกตั้งรอบที่ 2 ปรากฏว่า นายมูกาเบ ที่ลงแข่งขันเพียงผู้เดียว ได้รับการเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีอีกครั้ง ด้วยคะแนนร้อยละ 85.5 โดยมีประชาชนมาใช้สิทธิเลือกตั้งร้อยละ 42.4 ซึ่งใกล้เคียงกับจำนวนผู้ที่เลือกนายมูกาเบเมื่อเดือนมีนาคม 2551 และได้สาบานตนเข้ารับตำแหน่งเมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2551 ท่ามกลางความคลางแคลงใจของชาวซิมบับเวและนานาชาติ หลังจากการเลือกตั้ง นายชังกิรายได้เดินทางออกนอกประเทศไปอยู่ในบอตสวานา ในระหว่างนั้น ได้มีความพยายามในการคลี่คลายปัญหาในซิมบับเวโดยนานาชาติและประเทศแอฟริกัน อื่นๆ ทั้งในกรอบทวิภาคีและพหุภาคี โดยประเทศที่ต่อต้านการครองอำนาจของนายมูกาเบอย่างชัดเจนและมีมาตรการคว่ำ บาตรซิมบับเว ได้แก่ สหรัฐฯ อังกฤษ และกลุ่ม EU 
 
ประเทศมหาอำนาจกลุ่มเหนือ นำโดยสหรัฐฯ ได้เสนอให้ชุมชนโลก ในนามขององค์การระหว่างประเทศต่างๆ โดยเฉพาะสหประชาชาติ สหภาพแอฟริกา และ G8 กำหนดมาตรการลงโทษรัฐบาลของนาย มูกาเบ เช่น คว่ำบาตรการค้าอาวุธและการเดินทางของเจ้าหน้าที่อาวุโสของซิมบับเว แต่ประเทศกลุ่มใต้ นำโดย รัสเซีย จีน เวียดนาม และอินโดนีเซีย ยังลังเลต่อมาตรการคว่ำบาตร โดยให้เหตุผลว่า ไม่ต้องการแทรกแซงกิจการภายในของซิมบับเว ในขณะที่แอฟริกาใต้มีท่าทีเป็นกลาง (ซึ่งมีนัยที่สนับสนุนนายมูกาเบ) โดยอ้างการดำเนินนโยบายตามหลัก Quiet Diplomacy 
 
สหภาพแอฟริกา (AU) ได้ มีมติภายหลังการประชุม AU Summit ที่อิยิปต์เมื่อ กลางเดือนกรกฎาคม 2551 ให้นายมูกาเบและนายชังกิราย เจรจากันเพื่อตั้งรัฐบาลแห่งชาติ ในขณะเดียวกัน กลุ่มประเทศ SADC (Southern African Development Community) ก็กดดันให้นาย ชังกิรายเข้าร่วมจัดตั้งรัฐบาลแห่งชาติ เพื่อให้สถานการณ์สงบ ภายหลังการเจรจากว่า 6 เดือน นายชังกิรายประกาศว่า ตนและพรรค MDC-T (ซึ่งแยกตัวออกมาจากพรรค MDC) จะเข้าร่วม กับนายมูกาเบและพรรค ZANU-PF จัดตั้งรัฐบาลแห่งชาติ โดยนายมูกาเบยังคงดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีและคุมกำลังทหาร ส่วนนายชังกิรายดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี (สาบานตนเข้ารับตำแหน่งเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2552) การจัดตั้งรัฐบาลแห่งชาติครั้งนี้ ได้รับการสนับสนุนจากชาวซิมบับเวและประเทศอื่นๆ ในแอฟริกาอย่างยิ่ง โดยหวังว่า จะทำให้ความวุ่นวายทางการเมืองคลี่คลายลง และประชาชนจะได้รับการดูแลจากรัฐบาลมากขึ้น อย่างไรก็ตาม นานาชาติยังไม่วางใจในเสถียรภาพของรัฐบาลแห่งชาติ และประเทศตะวันตกยังไม่ยกเลิกมาตรการคว่ำบาตรซิมบับเว 
 

นโยบายต่างประเทศ 

ความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้าน ซิมบับเวมีความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้านในทางตอนใต้ค่อนข้างดี โดยเฉพาะกับแอฟริกาใต้ ที่มีนโยบาย quiet diplomacy ชัดเจนว่า จะไม่แทรกแซงกิจการภายในของซิมบับเว อย่างไรก็ดี บอตสวานาได้สร้างแนวรั้วไฟฟ้า และแอฟริกาใต้ได้วางกำลังทหาร ตามแนวชายแดนกับซิมบับเว เพื่อป้องกันการอพยพเข้าประเทศของชาวซิมบับเวที่ประสบปัญหาความเป็นอยู่อย่างแร้นแค้น รวมทั้งผู้ที่ต้องการลี้ภัยทางการเมืองด้วย ในส่วนของประเทศเพื่อนบ้านทางตอนเหนือ-ตะวันออก อาทิ แซมเบีย คองโก (DRC) และโมซัมบิก ประธานาธิบดีมูกาเบเคยส่งทหารเข้าสู้รบในประเทศเหล่านี้ ซึ่งหลายฝ่ายวิพากษ์วิจารณ์ว่า การสู้รับดังกล่าวมักเป็นการเบี่ยงเบนความสนใจเมื่อประธานาธิบดีมูกาเบและพรรค ZANU-PF ประสบปัญหาทางการเมือง 
 
ความสัมพันธ์กับประเทศสหรัฐฯ และกลุ่ม EU ไม่สู้ดีนัก เนื่องจากประเทศดังกล่าวมียโยบายคว่ำบาตรด้านการเดินทางและการอายัดทรัพย์สินของสมาชิกแกนนำพรรค ZANU-PF หลายคน (ครอบคลุมประมาณร้อยละ 90 ของผู้มีตำแหน่งในรัฐบาลซิมบับเว) แต่มาตรการดังกล่าวไม่ได้ผลเท่าที่ควร ประธานาธิบดี มูกาเบยังสามารถเดินทางเข้า-ออกและมีบทบาทในประเทศอื่นๆ ที่ไม่ร่วมในนโยบายคว่ำบาตร อีกทั้งยังใช้นโยบายคว่ำบาตรซิมบับเวเพื่อประโยชน์ทางการเมืองให้แก่ตนเองและพรรค ZANU-PF ด้วย 
 
ประธานาธิบดีมูกาเบจึงพยายามสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับประเทศกำลังพัฒนาอื่นๆ โดยเฉพาะกับมาเลเซียและลิเบีย เพื่อส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศกำลังพัฒนาด้วยกัน (South-South Economic Cooperation) ล่าสุด ซิมบับเวได้ตกลงแลกเปลี่ยนสินค้า (barter trade) กับการนำเข้าน้ำมันจากลิเบีย ปัจจุบันซิมบับเวพยายามดำเนินความสัมพันธ์กับจีนให้มากขึ้น โดยมุ่งหวังที่จะพึ่งพาความช่วยเหลือจากจีน 
 
ประธานาธิบดีมูกาเบได้กล่าวสนับสนุนนโยบายการพัฒนาพลังงานนิวเคลียร์ของอิหร่านในระหว่างการเยือนซิมบับเวของประธานาธิบดีมามูด อามาดิเนจ๊าด (Mahmoud Ahmadinajad) เมื่อเดือนเมษายน 2553 แต่นายชังกิราย นายกรัฐมนตรีซิมบับเว ซึ่งเป็นผู้นำพรรคร่วมรัฐบาล MDC คัดค้านการเยือนดังกล่าวโดยเห็นว่าการสนับสนุนอิหร่านจะยิ่งเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาประเทศ 
 

เศรษฐกิจและสังคม

วิกฤตการณ์ในทุกมิติของประเทศส่งผลให้ระบบเศรษฐกิจและสังคมของซิมบับเวล่มสลายภายใต้การปกครองของประธานาธิบดีมูกาเบ เศรษฐกิจของประเทศตกต่ำลงอย่างต่อเนื่อง เกิดภาวะเงินเฟ้อรุนแรง การขาดแคลนอาหาร และภาวะการว่างงานอย่างรุนแรง ในปัจจุบันมีประชากรเพียงร้อยละ 20 ของประเทศเท่านั้นที่มีงานประจำ เมื่อปลายเดือนธันวาคม 2551 รัฐบาลซิมบับเวยกเลิกการใช้เงินสกุล”ดอลลาร์ซิมบับเว” (ซึ่งล่าสุดรัฐบาลได้พิมพ์ธนบัตรมูลค่า 100 Trillion Zimbabwean Dollars ออกใช้เท่ากับว่า เงินซิมบับเวดอลลาร์แทบจะไม่มีค่ามากไปกว่ากระดาษ) และอนุญาตให้ใช้เงินตราต่างประเทศ โดยเฉพาะ ดอลลาร์สหรัฐ และแรนด์แอฟริกาใต้ ในท้องตลาดได้ รวมทั้งจ่ายเงินเดือนเจ้าหน้าที่รัฐเป็นเงินดอลลาร์สหรัฐ ส่งผลให้สภาวะเศรษฐกิจเริ่มทรงตัว ประชาชนเริ่มมีกำลังซื้อ และเริ่มมีเงินไหลเข้าสู่ระบบมากขึ้น 

ความสัมพันธ์

ความสัมพันธ์ทั่วไป 

การทูต 
ไทยและซิมบับเวได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกันเมื่อวันที่ 4 เมษายน 2528 (ค.ศ.1985) โดยไทยมอบหมายให้สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงพริทอเรีย สาธารณรัฐแอฟริกาใต้ มีเขตอาณาครอบคลุมซิมบับเว เอกอัครราชทูตไทยประจำสาธารณรัฐซิมบับเวคนปัจจุบันคือ นายนนทศิริ บุรณศิริ โดยมีถิ่นพำนัก ณ กรุงพริทอเรีย ส่วนซิมบับเวมอบหมายให้สถานเอกอัครราชทูตซิมบับเวประจำมาเลเซีย มีเขตอาณาครอบคลุมประเทศไทย เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐซิมบับเวประจำประเทศไทยคนปัจจุบันคือ นายลูคัส พันเด   ทาวายา (Lucas Pande Tavaya) โดยมีถิ่นพำนัก ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ และแต่งตั้งนายเกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ เป็นกงสุลกิตติมศักดิ์ซิมบับเวประจำประเทศไทย 
 
ในภาพรวม ความสัมพันธ์ ไทย-ซิมบับเว ราบรื่นแต่ไม่ใกล้ชิด ยังมีการแลกเปลี่ยนการเยือนหรือการจัดกิจกรรมระหว่างกันน้อยมาก อย่างไรก็ดี อุปสรรคสำคัญคือสถานการณ์รุนแรงในซิมบับเวเกิดขึ้นเป็นระยะ ๆ และนานาชาติยังใช้มาตรการคว่ำบาตรซิมบับเวอยู่อย่างต่อเนื่อง 
                  

เศรษฐกิจ 

การค้า 
การค้าระหว่างไทยกับซิมบับเวยังมีมูลค่าไม่มากนัก ซึ่งไทยเป็นฝ่ายเสียเปรียบดุลการค้ามาโดยตลอด โดยในปี 2554 มีมูลค่าการค้าระหว่างกัน รวมทั้งสิ้น 48.77 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ไทยส่งออก 19.93 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ไทยนำเข้า 28.84 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ไทยเป็นฝ่ายเสียเปรียบดุลการค้า 8.91 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้ เนื่องจากไทยนำเข้าวัตถุดิบประเภทด้ายและเส้นใยจากซิมบับเวเพื่อนำมาใช้ใน อุตสาหกรรมสิ่งทอของไทยเป็นจำนวนมาก นอกจากนั้นยังมีสินค้าที่ไทยนำเข้า อื่น ๆ ได้แก่ พืชและผลิตภัณฑ์จากพืช เครื่องใช้เบ็ดเตล็ด แร่และผลิตภัณฑ์จากแร่ สินค้าหลักที่ไทยส่งออกไปซิมบับเว อาทิ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เคหะสิ่งทอ เครื่องยนต์สันดาปภายในแบบลูกสูบ ผลิตภัณฑ์ยาง เป็นต้น แม้ว่าซิมบับเวจะประสบปัญหาการเมืองและเศรษฐกิจ แต่ก็ไม่ส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์ทางการค้ากับไทยมากนัก เห็นได้จากมูลค่าการค้ารวมตลอดช่วง 5 ปีที่ผ่านมาระหว่างสองประเทศนั้นมีความคงที่และต่อเนื่องมาโดยตลอดภาคธุรกิจ ที่ไทยมีศักยภาพในซิมบับเวเมื่อสถานการณ์ในซิมบับเวสงบแล้ว ได้แก่ ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการเกษตร การแปรรูปผลิตภัณฑ์เกษตร เหมืองแร่ธาตุ การเจียรไนเพชร ร้านอาหารไทย 
 
การลงทุน 
ยังไม่ปรากฏข้อมูลการลงทุนระหว่างกันอย่างไรก็ดี ที่ผ่านมา รัฐบาลซิมบับเวมีนโยบายในการส่งเสริมการค้าและการลงทุน และเชิญชวนชาวต่างชาติเข้าไปลงทุนรวมทั้งไทยด้วย ซึ่งเดิมซิมบับเวเน้นการค้ากับยุโรป แต่ปัจจุบันได้หันมาสนใจติดต่อกับภูมิภาคเอเชียมากขึ้น 
 
การท่องเที่ยว 
ในปี 2554 มีชาวซิมบับเวเดินทางมาประเทศไทย 935 คน และมีชาวไทยในซิมบับเวประมาณ 10 คน ส่วนใหญ่เป็นพ่อค้าพลอย เจ้าของร้านอาหารและแม่บ้าน 
 
ความตกลงที่สำคัญๆ กับไทย
ความตกลงที่ได้ลงนามไปแล้ว
ความตกลงว่าด้วยการส่งเสริมและคุ้มครองการลงทุน (ลงนามเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2543
 
ความตกลงที่อยู่ในระหว่างพิจารณาจัดทำ
ไม่ปรากฏ
 

การแลกเปลี่ยนการเยือน 

ฝ่ายไทย 
นายกรัฐมนตรี / คณะรัฐมนตรี / เจ้าหน้าที่ระดับสูง 
- วันที่ 15-17 สิงหาคม 2537 นาวาอากาศตรีประสงค์ สุ่นศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเยือนซิมบับเว 
 
ฝ่ายซิมบับเว 
ประธานาธิบดี 
- วันที่ 9 มกราคม 2551 ประธานาธิบดีมูกาเบและคณะเดินทางผ่านไทยเพื่อต่อเครื่องบินไปสิงคโปร์ 
- วันที่ 27 มีนาคม – 1 เมษายน 2553 นายเลิฟมอร์ โมโย (Lovemore Moyo) ประธานสภาผู้แทนราษฎร เยือนไทยเพื่อเข้าร่วมการประชุมสมัชชาสหภาพรัฐสภา (Inter-Parliamentary Union – IPU) ครั้งที่ 122 ที่กรุงเทพฯ 

ความตกลงและความร่วมมือ

- ความตกลงว่าด้วยการส่งเสริมและคุ้มครองการลงทุนระหว่างรัฐบาลราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลสาธารณรัฐซิมบับเว 
วันที่ลงนาม 18 กุมภาพันธ์ 2543
 
 

เอกสารประกอบ

other-20180712-142910-340327.pdf