สาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน (Islamic Republic of Iran)

สาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน (Islamic Republic of Iran)

วันที่นำเข้าข้อมูล 9 ต.ค. 2567

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 9 ต.ค. 2567

| 275 view

สาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน (Islamic Republic of Iran)

แผนที่  

  • มีก๊าซธรรมชาติสำรอง 16 ของปริมาณสำรองทั่วโลก มากเป็นอันดับ 2 รองจากรัสเซีย และน้ำมันร้อยละ 10 ของปริมาณสำรองทั่วโลก มากเป็นอันดับ 4 รองจากเวเนซุเอลา ซาอุดีอาระเบียและแคนาดา (โดยเป็นประเทศที่ส่งออกน้ำมันมากเป็นอันดับ 2 ในกลุ่ม OPEC)
  • วันที่ 8 พฤษภาคม 2561 สหรัฐฯ ถอดตัวจาก JCPOA และนำมาตรการคว่ำบาตรมาใช้กับอิหร่าน
  • สถานการณ์ความตึงเครียดบริเวณอ่าวเปอร์เซียทวีความรุนแรงขึ้นสืบเนื่องจากเหตุการณ์ความไม่สงบหลายครั้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการลอบสังหารผู้บัญชาการกองกำลัง Quds ของอิหร่านโดยสหรัฐฯ ในอิรัก
  • อิหร่านมีอัตราผู้ติดเชื้อและผู้เสียชีวิตจากโรค COVID-19 มากที่สุดในตะวันออกกลาง
  • ไทยบริจาคชุดอุปกรณ์ตรวจสอบการติดเชื้อโรค COVID-19 จำนวน 600 ชุด และได้สนับสนุนเงินช่วยเหลือทางมนุษยธรรมให้แก่อิหร่านจำนวน 50,000 ดอลลาร์สหรัฐ
  • ไทยบริจาคเงินช่วยเหลืออุทกภัยแก่อิหร่านจำนวน 1 ล้านบาท ในปี 2565
  • อิหร่านเป็นตลาดขนาดใหญ่ที่มีศักยภาพของไทยด้วยจำนวนประชากรประมาณ 80 ล้านคน อีกทั้งยังเข้าเป็นสมาชิกกลุ่มความร่วมมือเศรษฐกิจที่สำคัญหลายกลุ่ม อาทิ SCO ACD และกรอบ BRICS (ม.ค. 2567)

 

ข้อมูลทั่วไป

พื้นที่

1,648,195 (1.3 เท่าของไทย) ผู้นำสูงสุด

อายาตุลลอฮ์ อะลี โฮไซนี คาเมเนอี
(Ayatollah Ali Hoiseini-Khamenei)

เมืองหลวง

กรุงเตหะราน (Tehran)

ประธานาธิบดี

นายมัสอูด เปเซชกียาน
(H.E. Mr. Masoud Pezeshkian)

ประชากร

89,172,767 ล้านคน (2566)

รมว. กต.

นายเซย์เยด อับบาส อะรอกชี
(H.E. Mr. Seyed Abbas Araghchi)

ภาษาราชการ

ฟาร์ซี

วันชาติ 11 กุมภาพันธ์
ศาสนา

อิสลาม (ชีอะฮ์ร้อยละ 95 ซุนนีร้อยละ 5)

วันสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับไทย 9 พฤศจิกายน 2498

 

ข้อมูลเศรษฐกิจ (ปี 2566)

GDP

401.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
(ไทย: 540.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ)

สกุลเงิน

เรียลอิหร่าน - IRR ( 1 บาท = 1,171 เรียลอิหร่าน)
(สถานะ ณ วันที่ 16 กรกฎาคม 2567)

GDP per capita

4,502.5 ดอลลาร์สหรัฐ

เงินทุนสำรอง 19.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ปี 2565)
(ไทย: 224.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ธันวาคม 2566)

Real GDP growth

ร้อยละ 5.0 (ไทย: ร้อยละ -0.5)

อัตราเงินเฟ้อ ประมาณร้อยละ 44.6 (ไทย: ร้อยละ – 0.5
  ไตรมาสที่ 4 ของปี 2566)

ทรัพยากรธรรมชาติ

ปิโตรเลียม ก๊าซธรรมชาติ ตะกั่ว ถ่านหิน โครเมียม ทองแดง สินแร่ และเหล็ก

อุตสาหกรรมหลัก

น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ และปิโตรเคมี

สินค้านำเข้าสำคัญ

รถยนต์ ชิ้นส่วนรถยนต์ ข้าวโพด ข้าว

   

ตลาดนำเข้าสำคัญ

จีน เกาหลีใต้ เยอรมัน ตุรกี อินเดีย

   

สินค้าส่งออกสำคัญ

น้ำมันดิบ พลาสติกเเละยาง น้ำมันกลั่น แร่เหล็ก    
ตลาดส่งออกสำคัญ

จีน อินเดีย เกาหลีใต้ อิตาลี ญี่ปุ่น

   

 

สถิติที่สำคัญไทย-อิหร่าน (2565)

ข้อมูลการค้าไทย-อิหร่าน

199.80 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ลดลงร้อยละ 19.53) ไทยส่งออก 156.01 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.07) ไทยนำเข้า 43.79
ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ลดลงร้อยละ 59.39) ไทยได้ดุลการค้า 112.22 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (เพิ่มขึ้นร้อยละ 243.91)

สินค้าส่งออกของไทย

ยางพารา รถจักรยานยนต์และส่วนประกอบ ผลไม้กระป๋องและแปรรูป ผลิตภัณฑ์ยาง ตาข่ายจับปลา เคมีภัณฑ์ ข้าว เครื่องดื่ม เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ผักสด แช่เย็น แช่แข็งและแห้ง หม้อแบตเตอรี่และส่วนประกอบ ผลิตภัณฑ์พลาสติก

สินค้านำเข้าจากอิหร่าน

เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ สัตว์น้ำสด แช่เย็น แช่แข็ง แปรรูปและกึ่งสำเร็จรูป เชื้อเพลิงอื่น ๆ ผัก ผลไม้และของปรุงแต่งที่ทำจากผัก ผลไม้ ผลิตภัณฑ์โลหะ พืชสำหรับทำพันธุ์ แร่และผลิตภัณฑ์จากแร่ เคมีภัณฑ์ นมและผลิตภัณฑ์นม

การลงทุน

เคยมีโครงการด้านน้ำมันก๊าดธรรมชาติและปิโตเคมีของ ปตท.สผ. แต่ได้ยุติโครงการดังกล่าวไปเมื่อเดือนตุลาคม 2553 เนื่องจากผลประกอบการไม่คุ้มทุน และโครงการร่วมทุนผลิตเม็ดพลาสติกของ SCG Chemicals ซึ่งปัจจุบันได้ถอดทุนออกจากอิหร่านไปหมดแล้ว

การท่องเที่ยว

มีนักท่องเที่ยวอิหร่านมาไทยประมาณ 19,949 คน (2565) ในช่วงเดือน ม.ค. - มิ.ย. มีนักท่องเที่ยวไทยไปอิหร่าน 9,244 คน (2562)

คนไทยในอิหร่าน

ประมาณ 250 - 300 คน (2565)

สำนักงานผู้แทนไทยในอิหร่าน

สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเตหะราน และสำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ กรุงเตหะราน

สำนักงานของอิหร่านในไทย สถานเอกอัครราชทูตอิหร่านประจำประเทศไทย

 

กรมเอเชียใต้ ตะวันออกกลางและแอฟริกา