ข้อมูลรายประเทศ เอเชียใต้

เนปาล (Nepal)

วันที่นำเข้าข้อมูล 30 ม.ค. 2563

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 30 พ.ย. 2565

| 3299 view

รายละเอียดภาพรวม

เป็นประเทศ landlocked ภูมิประเทศเป็นเทือกเขา มีศักยภาพในด้านการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และทางพระพุทธศาสนา และเป็นสถานที่ประสูติของพระพุทธเจ้า (ลุมพินี) เมื่อวันที่ 24 เม.ย. 2548 (ค.ศ. 2005) สมเด็จพระราชาธิบดีกยาเนนทราฯ คืนอำนาจให้แก่ประชาชนตามการเรียกร้องของพรรคการเมือง ประชาชน และกลุ่ม Maoist ต่อมา พรรคร่วมรัฐบาลและกลุ่ม Maoist ลงนาม คตล. สันติภาพครั้งประวัติศาสตร์เมื่อ พ.ย. 2549 ซึ่งถือเป็นการยุติการสู้รบสองฝ่ายที่มีมาร่วมทศวรรษ
10 เม.ย. 2551 (ค.ศ. 2008) เนปาลจัดการเลือกตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญ โดยพรรค UCPN- Maoist ได้รับคะแนนเสียงมากที่สุด จึงจัดตั้งรัฐบาลผสม โดยมีพรรค Nepali Congress (NC) เป็นพรรคฝ่ายค้าน
ต่อมาวันที่ 28 พ.ค. 2551 (ค.ศ. 2008) สภาร่างรัฐธรรมนูญ (Constituent Assembly : CA) มีมติให้เนปาลยกเลิกสถาบันกษัตริย์ และเปลี่ยนชื่อประเทศเป็นสหพันธ์สาธารณรัฐ ประชาธิปไตยเนปาล (Federal Democratic Republic of Nepal)
สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นสภาร่างฯ ชุดที่ 2 ได้มีมติผ่านร่าง รธน. เมื่อวันที่ 16 ก.ย. 2558 (ค.ศ. 2015) ด้วยคะแนนเสียง 507 ต่อ 601 และประธานาธิบดี Ram Baran Yadav ได้ประกาศใช้ รธน. อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 20 ก.ย. 2558 (ค.ศ. 2015) ส่งผลให้เนปาลมี รธน. ที่ร่างโดยตัวแทนประชาชนเป็นฉบับแรก และเมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2558 (ค.ศ. 2015) นาง Bidhya Devi Bhandari ได้รับเลือกเป็น ปธน. คนที่สอง และเป็น ปธน. หญิงคนแรกของเนปาล
เนปาลจัดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกรัฐสภาและสภาผู้แทนราษฎร ระหว่างเดือน พ.ย. 2560 (ค.ศ.2017) ถึงเดือน ก.พ. 2561 (ค.ศ.2018) โดยพรรค NCP ซึ่งเกิดจากการรวมตัวของพรรค CPN (UML) และพรรค CPN (MC) ได้รับคะแนนเสียงมากที่สุด จึงได้จัดตั้งรัฐบาล

ข้อมูลทั่วไป

พื้นที่

147,181 ตร.กม. (ไทย 513,120 ตร.กม.)

ประชากร

30 ล้านคน (ไทย 69 ล้านคน) (ข้อมูลจาก World Bank ปี 2561)

เมืองหลวง

Kathmandu

ภาษาราชการ

เนปาลี

ศาสนา

พุทธ, อิสลาม, ฮินดู

ประธานาธิบดี

นางพิทยา เทวี ภัณฑรี (Mrs. Bidya Devi Bhandari)

นายกรัฐมนตรี

นายขัทคะ ปราสาท ศรรมะ โอลี (Mr. Khadga Prasad Sharma Oli)

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ

Pradeep Kumar Gyawali

วันชาติ

20 กันยายน

วันสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับไทย

30 พฤศจิกายน 2502 (ค.ศ. 1959)

ข้อมูลเศรษฐกิจ

GDP

24.88 ล้าน USD (ไทย 504.99 ล้าน USD) (ข้อมูลจาก World Bank ปี 2561)

GDP Per Capital

849.0 USD (ไทย 7,273.6 USD) (ข้อมูลจาก World Bank ปี 2561)

GDP Growth

ร้อยละ 7.9 (ไทย ร้อยละ 4.1) (ข้อมูลจาก World Bank ปี 2561)

สกุลเงิน

1 NPR = 0.28 บาท

อัตราเงินเฟ้อ

ร้อยละ 8.7 (ไทย ร้อยละ 1.1) (ข้อมูลจาก World Bank ปี 2561)

ทรัพยากรที่สำคัญ

แร่ควอทซ์ น้ำ ป่าไม้ พลังงานน้ำ สถานที่ท่องเที่ยว

อุตสาหกรรมหลัก

การท่องเที่ยว พรม สิ่งทอ ข้าว ปอกระเจา

สินค้าส่งออกที่ทำคัญ

พรม เสื้อผ้าสำเร็จรูป ผลิตภัณฑ์จากหนังสัตว์ ปอกระเจา

ตลาดส่งออกที่สำคัญ

อินเดีย เยอรมนี สหรัฐอเมริกา ตุรกี สหราชอาณาจักร

สินค้านำเข้าที่สำคัญ

ทอง เครื่ิองจักรและอุปกรณ์ ผลิตภัณฑ์จากปิโตรเลียม ปุ๋ย ยา

ตลาดนำเข้าที่สำคัญ

อินเดีย จีน สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ฮ่องกง สิงคโปร์

สถิติที่สำคัญ

มูลค่าการค้า

82.60 ล้าน USD ไทยส่งออก 82.18 ล้าน USD นำเข้า 0.42 ล้าน USD จึงได้เปรียบดุลการค้า 81.76 ล้าน USD (ข้อมูลจากกระทรวงพาณิชย์ ปี 2561)

สินค้านำเข้า

ผลิตภัณฑ์สิ่งทออื่นๆ เสื้อผ้าสำเร็จรูป เครื่องใช้เบ็ดเตล็ด เครื่องใช้และเครื่องตกแต่งภายในบ้านเรือน ผลิตภัณฑ์เวชกรรมและเภสัชกรรม

สินค้าส่งออก

เส้นใยประดิษฐ์ เครื่องสำอาง สบู่และผลิตภัณฑ์รักษาผิว เครื่องดื่ม รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ สินค้าปศุสัตว์อื่นๆ

การลงทุน

ไม่มีข้อมูล

การท่องเที่ยว

มีนักท่องเที่ยวจากเนปาลเดินทางมาประเทศไทยจำนวน 55,046 คน (ข้อมูลปี 2561) (เพิ่มขึ้นร้อยละ 27 จากปี 2560) และมีนักท่องเที่ยวไทยเดินทางไปเนปาลจำนวน 19,606 คน (ข้อมูลปี 2561) (ลดลงร้อยละ 37 จากปี 2560)

คนไทยในเนปาล

อยู่ระหว่างปรับปรุงข้อมูล

หน่วยงานไทยในเนปาล

สถานเอกอัครราชทูต (Kathmandu)

หน่วยงานของเนปาลในไทย

สถานเอกอัครราชทูต (Bangkok Metropolis)
สถานกงสุลกิตติมศักดิ์ (Phuket)