การจัดงาน “ก้าวสู่ยอดหิมาลัย เชื่อมสายใยไทย-เนปาล” เพื่อสานสัมพันธ์อันดีระหว่างไทยกับเนปาล

การจัดงาน “ก้าวสู่ยอดหิมาลัย เชื่อมสายใยไทย-เนปาล” เพื่อสานสัมพันธ์อันดีระหว่างไทยกับเนปาล

วันที่นำเข้าข้อมูล 3 ก.พ. 2568

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 3 ก.พ. 2568

| 29 view

การเปิดโอกาสให้เกิดการมีส่วนร่วมของกรมเอเชียใต้ ตะวันออกกลางและแอฟริกา
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568

        เมื่อวันที่ 20 มกราคม 2568 กรมเอเชียใต้ ตะวันออกกลางและแอฟริกา จัดงาน "ก้าวสู่ยอดหิมาลัย เชื่อมสายใยไทย-เนปาล" ณ ห้องบัวแก้ว กระทรวงการต่างประเทศ เพื่อสานสัมพันธ์อันดีระหว่างไทยกับเนปาล โดยเปิดโอกาสให้หน่วยงานและบุคคลภายนอกมีส่วนร่วมในการดำเนินงานตามภารกิจของหน่วยงาน

ประเด็นหรือเรื่องในการมีส่วนร่วม การสัมภาษณ์นายวิทิตนันท์ โรจนพานิช นักปีนเขาชาวไทยและประธานสมาคมมิตรภาพไทย-เนปาล ซึ่งเป็นชาวต่างชาติคนแรกที่พิชิตยอดเขา Yasa Thak ได้สำเร็จ เพื่อบอกเล่าประสบการณ์และความเป็นมาของการพิชิตยอดเขาดังกล่าวเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2567 รวมทั้งการเสนอขอเพิ่มชื่อ "Echo Peak" ต่อท้ายคำว่า Mount Yasa Thak ในแผนที่ไปยังฝ่ายเนปาล เพื่อจารึกเป็นประวัติศาสตร์ เป็นสัญลักษณ์แห่งมิตรภาพที่สะท้อนถึงความรักนิรันดร์ระหว่างไทยกับเนปาล
สรุปข้อมูลของผู้มีส่วนร่วม ผู้เข้าร่วมงานกว่า 50 คน ประกอบด้วย อดีตเอกอัครราชทูตไทย มูลนิธิไทย สื่อมวลชน สมาชิกสมาคมไทย-เนปาลี ข้าราชการ ฯลฯ ทั้งนี้ ยังมีผู้ร่วมรับชมคลิปการถ่ายทอดสดสัมภาษณ์สดและย้อนหลังทาง Facebook ของกระทรวงการต่างประเทศที่ www.facebook.com/ThaiMFA
ผลจากการมีส่วนร่วม ผู้ร่วมงานได้มีโอกาสรับฟังประสบการณ์และความเป็นมาของการพิชิตยอดเขา Yasa Thak เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2567 รวมทั้ง มีโอกาสสอบถาม แลกเปลี่ยนข้อมูลที่น่าสนใจจากนายวิทิตนันท์ โรจนพานิช นอกจากนี้ นางสาวศศิริทธิ์ ตันกุลรัตน์ อธิบดีกรมเอเชียใต้ ตะวันออกกลางและแอฟริกา และนาย Dhan Bahadur Oli เอกอัครราชทูตเนปาลประจำประเทศไทยร่วมกล่าวในงาน โดยเน้นย้ำถึงความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นยาวนานกว่า 65 ปี ของการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตของทั้งสองประเทศ ซึ่งมีความโดดเด่นด้านความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรม พุทธศาสนา การไปมาหาสู่กันของประชาชน และความช่วยเหลือซึ่งกันและกันดังเช่นเมื่อมีเหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ในเนปาลเมื่อปี 2558 ด้วย
การนำผลจากการมีส่วนร่วมไปปรับปรุงพัฒนาการดำเนินงาน กรมเอเชียใต้ฯ ประมวลข้อมูลและเผยแพร่ให้เกิดการรับรู้แก่ประชาชนในช่องทางสื่อสารต่าง ๆ ของกรมฯ อาทิ เว็บไซต์ https://sameaf.mfa.go.th/ และ Facebook กรมเอเชียใต้ ตะวันออกกลางและแอฟริกา รวมทั้งนำข้อมูลที่ได้รับจากกิจกรรมมาใช้ประโยชน์ในการดำเนินกิจกรรมรูปแบบอื่น ๆ ที่จะเสริมสร้างความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างไทยและศรีลังกา ทั้งทางด้านวัฒนธรรม พุทธศาสนา การไปมาหาสู่กันของประชาชน และความช่วยเหลือทางมนุษยธรรมต่อไป 

รูปภาพประกอบ

รูปภาพประกอบ