รัฐคูเวต (Kuwait)

รัฐคูเวต (Kuwait)

วันที่นำเข้าข้อมูล 2 ก.ค. 2567

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 9 ต.ค. 2567

| 30 view

รัฐคูเวต (The State of Kuwait)

    แผนที่_kuwait  

  • เป็นประเทศอาหรับสายกลางที่ร่ำรวยจากการส่งออกน้ำมัน อุดมสมบูรณ์ ด้วยทรัพยากรน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ
  • มีปริมาณน้ำมันสำรองประมาณร้อยละ 8 ของโลก
  • มีศักยภาพทางเศรษฐกิจ โดยการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศเป็นจำนวนมาก เพื่อการอุปโภคบริโภค และมีการนำเข้าแรงงานจากต่างประเทศ
  • ดำเนินนโยบาย “Look East Policy” "การทูตทางเศรษฐกิจ" และใช้นโยบายการค้าเสรี
  • ชาวคูเวตมีทัศนคติที่ดีต่อไทย โดยคูเวตตระหนักถึงความช่วยเหลือ/สนับสนุนของไทยต่อคูเวตในช่วงสงครามอ่าวเปอร์เซีย และได้บริจาคเงินให้ความช่วยเหลือไทยเมื่อครั้งเกิดอุทกภัยในประเทศไทย เมื่อปี 2554

 

ข้อมูลทั่วไป

พื้นที่

17,818 ตร. กม. (ร้อยละ 3.5 ของไทย) เจ้าผู้ครองรัฐ

เชค นาวัฟ อัลอะห์มัด อัลญาบิร อัศเศาะบาฮ์
(H.H. Sheikh Nawaf Al-Ahmad Al-Jaber Al-Sabah)

เมืองหลวง

คูเวตซิตี้ (Kuwait City)

นายกรัฐมนตรี

เชค อะห์มัด นะวาฟ อัลอะห์มัด อัศเศาะบาห์
(H.H. Sheikh Ahmad Nawaf Al-Ahmad  Al-Sabah)

ประชากร

4,268,873 ล้านคน (2565)

รมว. กต.

เชค ซาลิม อับดุลเลาะฮ์ อัลญาบิร อัศเศาะบาห์
(H.E. Sheikh Salem Abdullah Al-Jaber Al-Sabah)

ภาษาราชการ

อาหรับ (มีการใช้ภาษาอังกฤษอย่างแพร่หลาย)

วันชาติ 25 กุมภาพันธ์
ศาสนา

อิสลาม (ซุนนีร้อยละ 65 ชีอะฮ์ร้อยละ 30 คริสต์
ร้อยละ 4.5 อื่น ๆ ร้อยละ 0.5)

วันสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับไทย 14 มิถุนายน 2506

 

ข้อมูลเศรษฐกิจ (ปี 2565)

GDP

175.36 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
(ไทย: 495.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ)

สกุลเงิน ดีนาร์คูเวต (KWD) (1 KWD = 119.73 บาท
(สถานะ ณ วันที่ 21 มิถุนายน 2567)

GDP per capita

41,079.5 ดอลลาร์สหรัฐ 
(ไทย: 7,089.7 ดอลลาร์สหรัฐ)

Real GDP growth ร้อยละ 8.9 (ไทย: ร้อยละ 2.6)

ทรัพยากรธรรมชาติ

น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ

เงินทุนสำรอง 52.46 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
(ไทย: 216.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ธันวาคม 2565)

อุตสาหกรรมหลัก

ผลิตน้ำมัน ปูนซีเมนต์ การต่อและซ่อมเรือ

 อัตราเงินเฟ้อ ร้อยละ 4.0 (ไทย: ร้อยละ 6.1)

สินค้านำเข้าสำคัญ

อาหาร วัสดุก่อสร้าง ยานพาหนะ และอะไหล่ เครื่องนุ่งห่ม

   

ตลาดนำเข้าสำคัญ

จีน สหรัฐฯ ซาอุดีอาระเบีย ญี่ปุ่น เยอรมนี ฝรั่งเศส อินเดีย

   

สินค้าส่งออกสำคัญ

น้ำมัน ผลิตภัณฑ์น้ำมัน ปุ๋ย

   
ตลาดส่งออกสำคัญ

เกาหลีใต้ จีน อินเดีย ญี่ปุ่น สิงคโปร์ สหรัฐฯ ปากีสถาน

   

 

สถิติที่สำคัญไทย-คูเวต (2566)

มูลค่าการค้า

1,075.74 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ลดลงร้อยละ 25.58) ส่งออก 416.15 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (เพิ่มขึ้นร้อยละ 23.84)
นำเข้า 659.59 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ลดลงร้อยละ 40.55) ไทยขาดดุลการค้า 243.44 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
(เพิ่มขึ้นร้อยละ 68.52)

สินค้าส่งออกของไทย

รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ สินค้าแร่และเชื้อเพลิงอื่น ๆ ไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ อาหารทะลกระป๋องและแปรรูป อัญมณีและเครื่องประดับ น้ำตาลทราย ทองแดงและของทำด้วยทองแดง ผลิตภัณฑ์ยาง ตู้เย็น ตู้แช่แข็งและส่วนประกอบ

สินค้านำเข้าจากคูเวต

น้ำมันสำเร็จรูป ก๊าซธรรมชาติ เคมีภัณฑ์ สินแร่โลหะอื่น ๆ เศษโลหะและผลิตภัณฑ์ สัตว์และผลิตภัณฑ์จากสัตว์ สบู่ ผงซักฟอกและเครื่องสำอาง สินค้าอุปโภคบริโภคอื่น ๆ กระจก แก้วและผลิตภัณฑ์ สัตว์มีชีวิตไม่ได้ทำพันธ์

การท่องเที่ยว

นักท่องเที่ยวคูเวตมาไทยประมาณ 79,255 คน (2566)
นักท่องเที่ยวไทยไปคูเวต 1,661 คน (2566)

คนไทยในคูเวต

1,000 คน (2565)

การตรวจลงตรา

คนคูเวตได้รับการยกเว้นการตรวจลงตรา โดยสามารถพำนักในประเทศไทยได้ไม่เกิน 30 วัน คนไทยต้องขอรับ
การตรวจลงตราเข้าคูเวต / ความตกลงยกเว้นการตรวจลงตราสำหรับผู้ถือหนังสือเดินทางทูต หนังสือเดินทางพิเศษและหนังสือเดินทางราชการไทย - คูเวต มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2565

สำนักงานผู้แทนไทยในคูเวต

คูเวต (สถานเอกอัครราชทูต) (เปิดทำการเมื่อปี 2526)

สำนักงานผู้แทนคูเวตในไทย

กรุงเทพฯ (สถานเอกอัครราชทูต) (เปิดทำการเมื่อปี 2540)

 

กรมเอเชียใต้ ตะวันออกกลางและแอฟริกา