ข้อมูลทั่วไป
CICA เป็นกรอบการประชุมว่าด้วยการส่งเสริมปฏิสัมพันธ์และมาตรการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจระหว่างประเทศในภูมิภาคตามข้อริเริ่มของประธานาธิบดี Nursultan Nazarbayev แห่งคาซัคสถาน ที่เสนอต่อที่ประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ ครั้งที่ 47 เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 1992 มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ CICA เป็นกลไลส่งเสริมสันติภาพ เสถียรภาพ และความมั่นคงในภูมิภาคเอเชีย โดยใช้หลักการฉันทามติ การไม่แทรกแซงกิจการภายในของประเทศ การดำเนินการอย่างค่อยเป็นค่อยไป และความสมัครใจ (voluntary) มีกรอบความร่วมมือ 5 มิติ ได้แก่ การเมืองและการทหาร เศรษฐกิจ ภัยคุกคามและสิ่งท้าทายใหม่ สิ่งแวดล้อม และด้าน มนุษย์
ปัจจุบัน CICA มีสมาชิก 24 ประเทศ ได้แก่ อัฟกานิสถาน อาเซอร์ไบจาน บาห์เรน จีน อียิปต์ อิสราเอล อินเดีย อิหร่าน อิรัก จอร์แดน คาซัคสถาน คีร์กิซ มองโกเลีย ปากีสถาน สาธารณรัฐเกาหลี รัสเซีย ทาจิกิสถาน ไทย ตุรกี สหรัฐอาหรับอิมิเรตส์ อุซเบกิสถาน เวียดนาม กัมพูชา และปาเลสไตน์ (ไทยสมัครเป็นสมาชิกลำดับที่ 17 เมื่อปี 2004) และมีผู้สังเกตการณ์อีก 8 ประเทศ 3 องค์การ ได้แก่ บังกลาเทศ อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น มาเลเซีย กาตาร์ ฟิลิปปินส์ ยูเครน สหรัฐอเมริกา สันนิบาตอาหรับ (LAS) องค์การเพื่อความมั่นคงและความร่วมมือในยุโรป (OSCE) และองค์การสหประชาชาติ (UN)
โครงสร้างองค์กร
1. ประธาน CICA ปัจจุบัน ประเทศตุรกีได้รับตำแหน่งประธาน (Chairman-in-Office) ของ CICA โดยมีวาระ 2 ปี คือระหว่างปี 2010-2012 และคาดว่าจะดำรงตำแหน่งประธานอีกวาระหนึ่ง ปี 2012-2014 และจีนจะรับเป็นประธานในวาระปี 2014-2016
2. สำนักเลขาธิการ ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2006 โดยจัดตั้งตาม Statute of the CICA Secretariat ปัจจุบันตั้งอยู่ที่นครอัลมาตี มีผู้อำนวยการบริหาร (Executive Director) ปัจจุบัน คือ Ambassador Çınar Aldemir จากประเทศตุรกี และผู้ช่วยผู้อำนวยการบริหาร (Deputy Executive Director) คือ Mr.Kanat Tumysh จากประเทศคาซัคสถาน
ทั้งนี้ วาระการดำรงตำแหน่งประธานได้เปลี่ยนจากวาระละ 4 ปี เป็นวาระละ 2 ปี ซึ่งคาซัคสถานได้ดำรงตำแหน่งประธานของ CICA วาระ 4 ปี 2 ครั้ง คือ ระหว่างปี 2002-2006 และ ระหว่างปี 2006-2010 ก่อนที่ตุรกีจะได้รับตำแหน่งประธาน หน้าที่หลักของประธาน CICA คือ การประสานงานและติดตามการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ รวมทั้งจัดประชุมสุดยอด ตลอดจนเป็นผู้แทนของประเทศสมาชิกในองค์กการระหว่างประเทศอื่น ๆ
การดำเนินงานสำคัญและพัฒนาการล่าสุด
นับแต่ปี 1993 เป็นต้นมา CICA มีการประชุมในหลายระดับ ทั้งระดับผู้นำ รัฐมนตรีต่างประเทศ เจ้าหน้าที่อาวุโส และผู้เชี่ยวชาญ โดยเน้นการวางกรอบความสัมพันธ์และการดำเนินงานภายใน CICA
1. การประชุมสุดยอด CICA มีขึ้นทุกๆ 4 ปี โดยที่ผ่านมา CICA ได้มีการจัดประชุมสุดยอดแล้ว 3 ครั้ง ได้แก่
การประชุมสุดยอด ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2002 ณ นครอัลมาตี ประเทศคาซัคสถาน โดยได้รับรองเอกสารสำคัญ ได้แก่ Almaty Act และ Declaration on Eliminating Terrorism and Promoting Dialogue among Civilizations
การประชุมสุดยอด ครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2006 ณ นครอัลมาตี ประเทศคาซัคสถาน โดยคาซัคสถานประสงค์จะให้มีการรับรอง Statute of the CICA Secretariat และ Declaration of the 2nd CICA Summit
การประชุมสุดยอด ครั้งที่ 3 เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2010 ณ นครอิสตันบูล ประเทศตุรกี ประเทศสมาชิกได้ร่วมลงนามในอนุสัญญาว่าด้วยเอกสิทธิ์และความคุ้มกันของสำนัก เลขาธิการ บุคลากรของสำนักเลขาธิการและผู้แทนสมาชิกของ CICA (Convention on the Privileges and Immunities of the Secretariat, its Personnel, and Representatives of Members of CICA) และได้ร่วมแถลงปฏิญญาการประชุมภายใต้หัวข้อ Constructing Cooperative Approach to Interaction and Security in Asia
2. การประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศ CICA มีขึ้นทุกๆ 2 ปี โดยที่ผ่านมาจัดขึ้นแล้ว 4 ครั้ง
การประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศของ CICA ครั้งที่ 1 จัดขึ้นเมื่อวันที่ 14 กันยายน 1999 และมีการลงนามเอกสาร Declaration on Principles Guiding Relations between CICA Member States
การประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศของ CICA ครั้งที่ 2 จัดขึ้นเมื่อวันที่ 21 - 23 ตุลาคม 2004 ซึ่ง ที่ประชุมได้รับไทยเข้าเป็นสมาชิกอย่างเป็นทางการ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเป็นผู้แทนรัฐบาลไทยลงนามในเอกสาร หลักของ CICA 2 ฉบับ ได้แก่ ปฏิญญาอัลมาตี (Almaty Act) และปฏิญญาว่าด้วยหลักการดำเนินความสัมพันธ์ระหว่างประเทศสมาชิก (Declaration on Principles Guiding Relations between CICA Member States) ซึ่งกำหนดแนวทางในการดำเนินความสัมพันธ์ระหว่างประเทศสมาชิก CICA พร้อมกันนี้ ที่ประชุมได้รับรองเอกสารสำคัญ 3 ฉบับ ได้แก่ CICA Rules of Procedures, CICA Catalogue of Confidence Building Measures และ Declaration of the CICA Ministerial Meeting โดยแถลงการณ์ร่วมของการประชุมได้ยืนยันเจตนารมณ์ของประเทศสมาชิกที่จะร่วม กันเสริมสร้างสันติภาพและความมั่นคงในเอเชีย โดยเน้นความสำคัญของความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาต่างๆ ในภูมิภาค ไม่ว่าจะเป็นปัญหาความขัดแย้งระหว่างประเทศ และปัญหาความมั่นคงแบบใหม่ๆ ครั้งที่ 3 เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2008 ณ นครอัลมาตี ประเทศคาซัคสถาน
การประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศของ CICA ครั้งที่ 3 จัดขึ้นเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2008 ณ นครอัลมาตี ประเทศคาซัคสถาน
การประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศของ CICA ครั้งที่ 4 จัดขึ้นเมื่อวันที่ 12 กันยายน 2012 ณ กรุงอัสตานา ประเทศคาซัคสถาน โดยเป็นการเฉลิมฉลองการครบรอบ 20 ปี ของการสถาปนา CICA
3. การประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโส (SOC) มีการประชุมเป็นประจำอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อดูแลและพิจารณาผลการดำเนินงานของคณะทำงานพิเศษ และหารือเตรียมการสำหรับการประชุมระดับรัฐมนตรีและระดับผู้นำ โดยในช่วงที่ผ่านมาเน้นการวางกรอบการดำเนินงาน และโครงสร้างการบริหารของสำนักเลขาธิการ CICA การประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสครั้งล่าสุดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 22 - 14 เมษายน 2010 ณ นครอัลมาตี ประเทศคาซัคสถาน
4. การประชุมระดับคณะทำงานพิเศษ (SWG) จัดตั้งขึ้นด้วยความเห็นชอบของการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสเพื่อหารือในเรื่องที่ได้รับมอบหมาย ปัจจุบัน มี 2 คณะทำงาน ได้แก่
-
การประชุมระดับคณะทำงานเพื่อจัดตั้งสำนักเลขาธิการ CICA พิจารณายกร่างเอกสารที่เกี่ยวข้อง อาทิ Statute of the CICA Secretariat, Financial Rules, Financial Regulations, Host Country Agreement, Conversation on the Legal Capacity of the CICA Secretariat, its Personnel and their Privileges and Immunities (อยู่ระหว่างการพิจารณา), Work Plan of the CICA Secretariat และการแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ประจำสำนักเลขาธิการ
-
การประชุมระดับคณะทำงาน SWG Meeting on elaborating the implementation of the CICA Confidence Building Measures in Economic, Environmental and Human Dimensions จัดขึ้นเป็นครั้งแรกระหว่างวันที่ 12 - 14 ธันวาคม 2005 ซึ่งมีอธิบดีกรมองค์การระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ คาซัคสถานเป็นประธาน โดยที่ประชุมได้พิจารณาร่างเอกสาร Cooperative Approach เพื่อใช้เป็นแนวทางในการดำเนินมาตรการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจในมิติต่างๆ ต่อมา ที่ประชุม CICA Special Working Group ที่กรุงเทพฯ (12 - 13 มีนาคม 2008) ได้พิจารณาเอกสารดังกล่าวเพื่อวางกรอบมาตรการความร่วมมือที่ให้ความสำคัญสูง สุด 4 สาขา (เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม มนุษย์ และสิ่งท้าทายใหม่)
ทั้งนี้ การประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสและคณะทำงานพิเศษ (SOC/SWG) ครั้งล่าสุดจัดขึ้นเมื่อวันที่ 20-21 มิถุนายน 2012 ณ กรุงอังการา ประเทศตุรกี
เอกสารสำคัญของ CICA
-
Declaration on the Principles Guiding Relations among the CICA Member States (รับรองโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของประเทศสมาชิก ในปี 1999) เป็นเอกสารทางการเมืองฉบับแรกของ CICA วางหลักการพื้นฐานความสัมพันธ์ระหว่างประเทศสมาชิก อาทิ การเคารพอธิปไตยและบูรณภาพแห่งดินแดน การไม่ใช้กำลัง การยุติข้อพิพาทโดยสันติ การไม่แทรกแซงกิจการภายใน การส่งเสริมสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพ
-
Almaty Act (รับรองโดยผู้นำ ในปี 2002) เป็นเอกสารหลักที่กำหนดวัตถุประสงค์ เป้าหมายและแนวทางพื้นฐานสำหรับความร่วมมือของ CICA ซึ่งได้แก่ การพัฒนาความร่วมมือพหุภาคีเพื่อส่งเสริมสันติภาพความมั่นคง และความมีเสถียรภาพในเอเชีย โดยเน้นดำเนินมาตรการสร้างความเชื่อมั่นระหว่างกัน
-
Declaration on Eliminating Terrorism and Promoting Dialogue among Civilizations (รับรองโดยผู้นำ ในปี 2002) เน้นสนับสนุนความร่วมมือระหว่างประเทศและใน CICA ด้านการต่อต้านการก่อการร้าย
-
CICA Catalogue of Confidence Building Measures (รับรองโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของประเทศสมาชิก ในปี 2004) เป็นเอกสารกำหนดแนวทางการดำเนินมาตรการสร้างความไว้เนื้อ เชื่อใจระหว่างประเทศสมาชิก โดยเน้นการปรึกษาหารือและแลกเปลี่ยนข้อมูลในสาขาด้านการเมือง การทหาร เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และมนุษย์ รวมทั้งการต่อต้านภัยคุกคามใหม่
-
Statute of the CICA Secretariat (รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศลงนามในปี 2006) กำหนดอำนาจหน้าที่ การบริหารจัดการ บุคลากร รวมทั้งการจัดสรรเงินทุนของสำนักเลขาธิการ
-
Declaration of the 2nd Ministerial Meeting (2004), Declaration of the 2nd Summit (2006) และ Declaration of the 3rd Ministerial Meeting (2008) เป็นเอกสารผลการประชุมซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับพัฒนาการและทิศทางในอนาคตของ CICA รวมทั้งท่าทีของ CICA ต่อสถานการณ์ในภูมิภาคและระหว่างประเทศ
-
Declaration of the 3rd CICA Summit (2010) เป็น เอกสารที่แสดงถึงเจตนารมณ์ของผู้นำประเทศสมาชิก CICA ในการเสริมสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจระหว่างกัน และการพัฒนาความร่วมมือในการเผชิญหน้ากับสิ่งท้าทายใหม่ ๆ ทั้งในระดับประเทศและในระดับภูมิภาค ภายใต้หัวข้อ Constructing cooperative Approach to Interaction and Security in Asia
-
อนุสัญญาว่าด้วยเอกสิทธิ์และความคุ้มกันของสำนักเลขาธิการ บุคลากรของสำนักเลขาธิการและผู้แทนสมาชิกของ CICA (Convention on the Privileges and Immunities of the Secretariat, its Personnel, and Representatives of Members of CICA) เป็นเอกสารเกี่ยวกับการให้ เอกสิทธิ์ ความคุ้มกัน และอำนวยความสะดวกให้แก่สำนักเลขาธิการและผู้แทนของประเทศสมาชิก CICA ในระหว่างการเดินทางไปปฏิบัติหน้าที่เข้าร่วมการประชุม และร่วมกิจกรรมอื่น ๆ ของ CICA
บทบาทของไทยต่อ CICA
-
การประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของ CICA ครั้งที่ 1 (14 กันยายน 1999) ไทยไม่ได้ส่งผู้แทนเข้าร่วมเนื่องจากได้รับแจ้งอย่างกระชั้นชิด แต่ได้มอบหมายให้สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงมอสโก ติดตามผล
-
การประชุมสุดยอด ครั้งที่ 1 (14 มิถุนายน 2002) ไทยในฐานะประเทศผู้สังเกตการณ์ส่งผู้แทนพิเศษของนายกรัฐมนตรี (นายนิสสัย เวชชาชีวะ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ) เข้าร่วม
-
การประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของ CICA ครั้งที่ 2 (23 ตุลาคม 2004) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ (นายสุรเกียรติ์ เสถียรไทย) เข้าร่วม โดยที่ประชุมได้รับรองไทยเป็นสมาชิก
-
การประชุมสุดยอด ครั้งที่ 2 (17 มิถุนายน 2006) นายกรัฐมนตรี (พันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร) เข้าร่วมในฐานะฝ่ายไทย
-
ไทยเป็นเจ้าภาพจัดประชุม Special Working Group และ Senior Official Committee ระหว่างวันที่ 12-14 มีนาคม 2007 ที่กรุงเทพฯ ซึ่งถือเป็นครั้งแรกที่มีการประชุมในกรอบ CICA นอกคาซัคสถาน และยังถือเป็นครั้งแรกที่มีการหารือและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ตามมาตรการส่ง เสริมการไว้เนื้อเชื่อใจ (CICA Catalogue of Confidence Building Measures) โดยเน้นการหารือด้านมนุษยชน (human dimension) และสิ่งท้าทายใหม่ และแนวทางสำหรับการพัฒนาความสัมพันธ์ภายนอกและกับองค์กรภูมิภาคอื่นๆ (Guidelines for CICA’s External Relations and other regional bodies) ซึ่งเสนอโดยไทย
-
ไทยเป็นเจ้าภาพในการหารือ 3 ฝ่าย ระหว่าง ไทยในฐานะสมาชิกอาเซียนเพียงประเทศเดียวใน CICA คาซัคสถานในฐานะประธานปัจจุบัน และตุรกีในฐานะประธานในอนาคต (ช่วงปี 2010 - 2012) เมื่อวันที่ 18 มกราคม 2010 ที่กรุงเทพฯ เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ของไทยในการส่งเสริม CBMs ในมิติการเมือง/การทหาร ในกรอบ ARF เพื่อเป็นต้นแบบที่ CICA สามารถศึกษานำไปประยุกต์ใช้ในการขับเคลื่อนการพัฒนา CBMs ต่อไป
-
ไทยในฐานะประเทศผู้ประสานงานด้านการสร้างความเชื่อมั่น เพื่อส่งเสริมโอกาสทางธุรกิจและแลกเปลี่ยนข้อมูลของธุรกิจขนาดกลางและขนาด เล็ก โดยสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) เป็นเจ้าภาพการประชุม CICA Business Forum ที่กรุงเทพฯ ในวันที่ 2 - 3 กันยายน 2010
-
ไทยโดยความร่วมมือระหว่างกระทรวงการต่างประเทศกับสำนัก งานส่งเสริมธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมว่าด้วยการส่งเสริมธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในกรอง ของ CICA ที่กรุงเทพฯ ระหว่างวันที่ 30-31 มีนาคม 2011
-
ไทยโดยอธิบดีกรมเอเชียใต้ ตะวันออกกลางและแอฟริกา ได้บริจาคเงินจำนวน 20,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ ให้แก่ CICA Secretariat ที่เมืองอัลมาตี เมื่อเดือนสิงหาคม 2012
-
ไทยโดยความร่วมมือระหว่างสำนักงานความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ (สพร.) และสำนักงานคณะกรรมการการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ปปส.) เป็นเจ้าภาพการสัมมนาเชิงปฏิบัติการของเจ้าหน้าที่ด้านการป้องกันและปราบ ปรามยาเสพติดของประเทศสมาชิก CICA ที่กรุงเทพฯ และเชียงใหม่ เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2012
-
ไทยโดยผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ (นายจุลพงษ์ โนนศรีชัย) ได้เข้าร่วมการประชุมระดับรัฐมนตรี CICA ครั้งที่ 4 ณ กรุงอัสตานา ประเทศคาซัคสถาน เมื่อวันที่ 12 กันยายน 2012
*******************
กรมเอเชียใต้ ตะวันออกกลางและแอฟริกา
ธันวาคม 2556