สาธารณรัฐเยเมน

สาธารณรัฐเยเมน

วันที่นำเข้าข้อมูล 6 ก.ค. 2561

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 30 พ.ย. 2565

| 28,085 view

ข้อมูลทั่วไป

ที่ตั้ง ตั้งอยู่ในภูมิภาคตะวันออกกลาง
 
     - ทิศเหนือ ติดกับราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย
     - ทิศใต้ ติดกับทะเลอาหรับ
     - ทิศตะวันออก ติดกับรัฐสุลต่านโอมาน
     - ทิศตะวันตก ติดกับทะเลแดง
พื้นที่ 527,970 ตารางกิโลเมตร
 
ประชากร 27.46 ล้านคน 
 
ศาสนา ศาสนาอิสลาม (นิกายฝ่ายสุนหนี่) นอกจากนั้นยังมีชนกลุ่มน้อย ส่วนหนึ่งนับถือศาสนายิวและศาสนาคริสต์
 
ภาษา ภาษาอาหรับเป็นภาษาราชการ ภาษาอังกฤษเป็นภาษาต่างประเทศที่ใช้กันโดยทั่วไป
 
เมืองหลวง ซานอา (Sana’a)
 
เมืองสำคัญ เมือง Aden เมือง Hodaidah และเมือง Taiz
 
ประธานาธิบดี นายอับด ราบุฮ มันซูร ฮาดี (Mr. Abd Rabuh Mansour Hadi)
 
นายกรัฐมนตรี นายคาเหล็ด มาฟูด์ บาฮาห์ (Mr. Khaled Mafoundh Bahah)
 
รมว.กต. นายจามาล อับดุลลาห์ อัล ซาลลาล (Mr. Jamal Abdullah al-Sallal)
 
วันชาติ 5 พฤษภาคม 
 
วันสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับไทย 5 เมษายน 2526
 
หน่วยเงินตรา ริยาลเยเมน (YER) อัตราแลกเปลี่ยน 1 บาท เท่ากับ 6.4 ริยาล (YER) (สถานนะ ณ ส.ค. 2558)
 
ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ 45.45 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (2557)
 
รายได้ประชากรต่อหัว 1,655 ดอลลาร์สหรัฐ (2557)
 
การขยายตัวทางเศรษฐกิจ ร้อยละ 1.9 (2557)
 
อัตราเงินเฟ้อ ร้อยละ 9
 
เงินทุนสำรอง 5.4 พันล้าน USD
 
อุตสาหกรรมหลัก การผลิตและกลั่นน้ำมัน สิ่งทอ
 
สินค้านำเข้าที่สำคัญ อาหาร เครื่องจักร รถยนต์ เคมีภัณฑ์
 
สินค้าส่งออกที่สำคัญ น้ำมันดิบ อาหารทะเล กาแฟ ก๊าซธรรมชาติ
 
ตลาดนำเข้าที่สำคัญ ยูเออี อินเดีย จีน ซาอุดีฯ คูเวต สหรัฐฯ
 
ตลาดส่งออกที่สำคัญ จีน ไทย อินเดีย แอฟริกาใต้ ญี่ปุ่น ยูเออี 
 
ระบอบการปกครอง ระบอบประชาธิปไตยโดยมีประธานาธิบดีมาจากการเลือกตั้งโดยตรง มีนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้าบริหาร และสภาที่ปรึกษา (Shura Council หรือ Consultative Council) ที่แต่งตั้งโดยประธานาธิบดี และสภาผู้แทนราษฎรทำหน้าที่นิติบัญญัติ
 

การเมืองการปกครอง

1. การเมืองการปกครอง

 
        1.1 เยเมน เป็นประเทศเดียวในภูมิภาคอ่าวอาหรับที่มีรูปแบบการปกครองตามระบอบแบบประชาธิปไตย ประธานาธิบดี มาจากการเลือกตั้งโดยตรงและมีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละ 5 ปี ประธานาธิบดีคนปัจจุบันคือนายอาลี อับดัลลาห์ ซาลิห์ (Ali Abdallah Salih) ได้รับเลือกตั้งครั้งแรกเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2537 (ก่อนหน้านั้นอยู่ในตำแหน่งโดยการแต่งตั้ง) และได้รับการเลือกตั้งติดต่อกันมาจนปัจจุบันเป็นสมัยที่ 3 เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2549 และประธานาธิบดีจะเป็นผู้มีอำนาจแต่งตั้งรองประธานาธิบดี นายกรัฐมนตรี และสมาชิกคณะรัฐมนตรี
 
        1.2 รัฐธรรมนูญของเยเมน ซึ่งได้รับความเห็นชอบจากการลงประชามติของประชาชนเมื่อปี 2534 (แก้ไขในปี 2537 และปี 2544) กำหนดให้สาธารณรัฐเยเมนเป็นรัฐอาหรับและอิสลาม มีกฎหมายอิสลาม (Shari’a) เป็นแม่บทของกฎหมายภายในประเทศ กำหนดให้รัฐสภาประกอบด้วยของเยเมนมี 2 สภา ได้แก่ สภาที่ปรึกษา (Shura Council หรือ Consultative Council) มีสมาชิกจำนวน 111 คน โดยได้รับการแต่งตั้งจากโดยประธานาธิบดี ซึ่งเป็นผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาอาชีพต่าง ๆ และสภาผู้แทนราษฎร มีสมาชิกทั้งสิ้น 301 คน จากการเลือกตั้งทั่วไป มีวาระการดำรงตำเหน่งคราวละ 6 ปี การเลือกตั้งครั้งล่าสุดเมื่อวันที่ 27 เมษายน 2546
 
        1.3 ปัจจุบันสาธารณรัฐเยเมนมีพรรคการเมืองมากกว่า 20 พรรค อย่างไรก็ดี พรรค General People’s Congress (GPC) ของประธานาธิบดีซอลิห์ได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งและคุมเสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎรมาโดยตลอด
 
 

2. นโยบายต่างประเทศ

 
        2.1 เยเมนให้ความสำคัญในการส่งเสริมความสัมพันธ์กับกลุ่มประเทศอาหรับและประเทศอิสลาม อย่างไรก็ดี ในวิกฤตการณ์ทางการเมืองระหว่างอิรัก-คูเวต หรือสงครามอ่าวอาหรับ ในปี 2534 เยเมนได้แสดงท่าทีสนับสนุนอิรัก ส่งผลให้ความสัมพันธ์ระหว่างเยเมนกับประเทศริมอ่าวอาหรับ (Gulf Cooperation Council -GCC) เสื่อมถอยลง และทำให้เยเมนถูกซาอุดีอาระเบียซึ่งให้การสนับสนุนคูเวตตัดความช่วยเหลือในด้านต่าง ๆ ปัจจุบันรัฐบาลเยเมนได้พยายามปรับความสัมพันธ์กับประเทศในกลุ่ม GCC โดยได้ยื่นสมัครเป็นสมาชิกตั้งแต่ปี 2539 แต่ยังไม่ได้ รับอนุมัติ แต่อย่างไรก็ดี GCC ก็ได้ให้เยเมนเข้าร่วมในกิจกรรมต่างๆ เช่น ด้านสุขภาพ ด้านแรงงาน และการศึกษา
 
        2.2 หลังจากเหตุการณ์วินาศกรรม 11 กันยายน 2544 ในสหรัฐฯ เยเมนได้ให้ความร่วมมือกับสหรัฐฯ ในการทำสงครามต่อต้านการก่อการร้าย และการให้ความร่วมมือด้านข่าวกรอง รวมทั้งการฝึกร่วมทางทหาร ส่งผลให้สหรัฐอเมริกาให้ความช่วยเหลือเยเมนในการปฏิรูปทางด้านเศรษฐกิจ การเมือง และการพัฒนาองค์กรภาคประชาสังคม (civil society) นอกจากนี้ ยังได้รับเงินช่วยเหลือจากประเทศอื่นๆ เช่น สหภาพ-ยุโรป ญี่ปุ่น และจีน เป็นต้น ทั้งนี้ เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2549 ได้มีการจัดประชุมกลุ่มประเทศผู้บริจาคที่กรุงลอนดอน เพื่อให้ความช่วยเหลือแก่เยเมน ซึ่งที่ประชุมได้เห็นชอบให้ความช่วยเหลือเยเมนในวงเงิน 4.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ สำหรับช่วงปี 2551-2554

เศรษฐกิจและสังคม

เศรษฐกิจการค้า

 
1. เศรษฐกิจ
 
        1.1 เยเมน นับเป็นประเทศในกลุ่มที่พัฒนาน้อยที่สุด (Least Developed Countries-LDC) และประสบปัญหาความยากจนมากที่สุดประเทศหนึ่งในกลุ่มอาหรับ รวมทั้งมีอัตราการรู้หนังสือต่ำ (ร้อยละ 49) เนื่องจากเยมนการขาดเสถียรภาพทางการเมืองมายาวนาน การแบ่งออกเป็นสองประเทศ (เยเมนเหนือ และเยเมนใต้ระหว่างปี 2505-2533) สงครามกลางเมืองในปี 2537 การต่อต้านรัฐบาลของพรรคฝ่ายค้านและฝ่ายตรงข้ามต่างๆ ปัญหาการก่อการร้าย โดยกลุ่ม Al Qaeda และเครือข่าย และปัญหาอิทธิพลในพื้นที่ของชนเผ่าต่างๆ ซึ่งรัฐบาลยังไม่สามารถควบคุมได้อย่างทั่วถึงจนถึงปัจจุบัน
 
        1.2 ภาคเศรษฐกิจที่มีศักยภาพมากที่สุดของเยเมน ได้แก่ น้ำมันและก๊าซธรรมชาติ (ปริมาณสำรองน้ำมันประมาณ ๔.๓๗ 3.58 พันล้านบาร์เรล ผลิตได้ประมาณวันละ ๔ 339,000 แสนบาร์เรล การส่งออกน้ำมันดิบคิดเป็นร้อยละ ๗๐ 71 ของรายได้รัฐบาล มีมูลค่า ๓.๗ พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ) ส่วนในด้านก๊าซธรรมชาตินั้น (มีปริมาณสำรอง ๕.๕ 17.1 ล้าน ล้าน ลูกบาศก์ฟุต ) ขณะนี้เยเมนกำลังดำเนินโครงการผลิตก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) เพื่อการส่งออก มีบริษัทของ จีน และเกาหลีใต้ ร่วมลงทุน และมีประเทศคู่ลูกค้าที่สำคัญ ได้แก่ จีน และอินเดีย เป็นต้น ทั้งนี้ รัฐบาลมีนโยบายเปิดให้บริษัทน้ำมันต่างประเทศเข้ามารับสัมปทานและลงทุนด้านการสำรวจและผลิตน้ำมันและก๊าซธรรมชาติด้วย
 
        1.3 ทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญนอกจากน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ ได้แก่ทรัพยากรทางทะเลประมง เนื่องจากมีชายฝั่งทะเลยาวถึง 1,906 กิโลเมตร และทรัพยากรแร่ธาตุ เช่นที่สำคัญได้แก่ สังกะสี เงิน และตะกั่ว ทองคำ ซัลเฟอร์ เกลือ และยิปซั่ม แต่ยังไม่ได้รับการพัฒนาในเชิงอุตสาหกรรมมากเท่าที่ควร
 
 
        1.4 เมื่อเยเมนเหนือและใต้รวมประเทศเป็นสาธารณรัฐเยเมนในปี 2533 รัฐบาลมีเป้าหมายจะฟื้นฟูเศรษฐกิจโดยใช้ทรัพยากรน้ำมันดิบเป็นพื้นฐาน และพัฒนาเมืองท่าเอเดนซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของประเทศให้เป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรม อย่างไรก็ดี ต่อมาเมื่อเกิดสงครามกลางเมือง ในปี 2537 ได้สร้างความเสียหายแก่เศรษฐกิจของเยเมนเป็นอย่างมาก เป็นผลให้รัฐบาลได้ลดค่าเงินริยาลในปี 2538 และ ปี 2539
 
        1.5 เศรษฐกิจของเยเมนยังคงพึ่งพาภาคเกษตรอยู่มาก โดยผลผลิตจากภาคเกษตร (โดยเฉพาะป่าไม้และประมง) ยังคงเป็นสัดส่วนที่สำคัญของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) และประชากรเยเมนกว่าร้อยละ 50 ยังอยู่ในภาคเกษตร ผลผลิตผลทางเกษตรที่สำคัญของได้แก่ กาแฟ ฝ้าย ผลไม้ และปศุสัตว์ ผลผลิตในภาคอุตสาหกรรมมีสัดส่วนประมาณร้อยละ 40 และมีชาวเยเมนอยู่ในภาคอุตสาหกรรมประมาณร้อยละ 10 ส่วนภาคอุตสาหกรรมการผลิต (manufacturing sector) มีสัดส่วนประมาณร้อยละ 10 ของ GDP อุตสาหกรรมที่สำคัญได้แก่ การแปรรูปอาหาร การกลั่นน้ำมัน การผลิตวัสดุก่อสร้าง การผลิตกระดาษและสิ่งทอ ฯลฯ เป็นต้น
 
        1.6 ปัจจุบันรัฐบาลเยเมนได้ดำเนินการปฏิรูปเศรษฐกิจ โดยยกเลิกอัตราแลกเปลี่ยนอย่างเป็นทางการในปี 2540 พร้อมทั้งเจรจาขอรับความช่วยเหลือจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) และดำเนินการตามเงื่อนไขของ IMF ประกอบด้วย มาตรการกระตุ้นการเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ขยายฐานอุตสาหกรรม (diversification) เพื่อลดการพึ่งพารายได้จากการส่งออกน้ำมันดิบ ลดอัตราเงินเฟ้อ ลดการขาดดุลบัญชีเดินสะพัด และผลักดันการแปรรูปกิจการของรัฐ (privatization) การแก้ไขปัญหาความยากจน และการผ่อนคลายกฎระเบียบและเพิ่มสิทธิประโยชน์แก่นักลงทุน เพื่อดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ รวมทั้งมีโครงการเศรษฐกิจขนาดใหญ่ได้แก่ การสร้างเขตเศรษฐกิจเสรีที่เมืองอาเดน (Aden Free Zone)
 
2. นโยบายต่างประเทศ
 
        2.1 เยเมนให้ความสำคัญในการส่งเสริมความสัมพันธ์กับกลุ่มประเทศอาหรับและประเทศอิสลาม อย่างไรก็ดี ในวิกฤตการณ์ทางการเมืองระหว่างอิรัก-คูเวต หรือสงครามอ่าวอาหรับ ในปี 2534 เยเมนได้แสดงท่าทีสนับสนุนอิรัก ส่งผลให้ความสัมพันธ์ระหว่างเยเมนกับประเทศริมอ่าวอาหรับ (Gulf Cooperation Council -GCC) เสื่อมถอยลง และทำให้เยเมนถูกซาอุดีอาระเบียซึ่งให้การสนับสนุนคูเวตตัดความช่วยเหลือในด้านต่าง ๆ ปัจจุบันรัฐบาลเยเมนได้พยายามปรับความสัมพันธ์กับประเทศในกลุ่ม GCC โดยได้ยื่นสมัครเป็นสมาชิกตั้งแต่ปี 2539 แต่ยังไม่ได้ รับอนุมัติ แต่อย่างไรก็ดี GCC ก็ได้ให้เยเมนเข้าร่วมในกิจกรรมต่างๆ เช่น ด้านสุขภาพ ด้านแรงงาน และการศึกษา
 
        2.2 หลังจากเหตุการณ์วินาศกรรม 11 กันยายน 2544 ในสหรัฐฯ เยเมนได้ให้ความร่วมมือกับสหรัฐฯ ในการทำสงครามต่อต้านการก่อการร้าย และการให้ความร่วมมือด้านข่าวกรอง รวมทั้งการฝึกร่วมทางทหาร ส่งผลให้สหรัฐอเมริกาให้ความช่วยเหลือเยเมนในการปฏิรูปทางด้านเศรษฐกิจ การเมือง และการพัฒนาองค์กรภาคประชาสังคม (civil society) นอกจากนี้ ยังได้รับเงินช่วยเหลือจากประเทศอื่นๆ เช่น สหภาพ-ยุโรป ญี่ปุ่น และจีน เป็นต้น ทั้งนี้ เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2549 ได้มีการจัดประชุมกลุ่มประเทศผู้บริจาคที่กรุงลอนดอน เพื่อให้ความช่วยเหลือแก่เยเมน ซึ่งที่ประชุมได้เห็นชอบให้ความช่วยเหลือเยเมนในวงเงิน 4.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ สำหรับช่วงปี 2551-2554

ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับสาธารณรัฐเยเมน

 
ด้านการทูต
 
        ประเทศไทยกับเยเมนได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกันเมื่อวันที่ 5 เมษายน 2526 ไทยให้สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงมัสกัต มีเขตอาณาคลุมถึงเยเมน และสถานเอกอัครราชทูต ณ ปักกิ่ง มีเขตอาณาคลุมถึงประเทศไทย และเยเมนได้เปิดสถานกงสุลกิตติมศักดิ์ประจำประเทศไทย ในปี 2540 และ เมื่อปี 2546 ฝ่ายไทยได้แต่งตั้งให้นาย Abdul Galil Abdo Thabet เป็นกงสุลกิตติมศักดิ์ประจำเยเมน ส่วนฝ่ายเยเมนแต่งตั้งให้นาย Ahmed Salem Ba’Olayan เป็นกงสุลกิตติมศักดิ์เยเมนประจำไทยในปี 2540
 
ด้านการเมือง
 
        ความสัมพันธ์ทางการเมืองที่ผ่านมาเป็นไปด้วยดี ไม่มีความขัดแย้งระหว่างกัน อย่างไรก็ดี การแลกเปลี่ยนการเยือนยังมีน้อย ในปี 2548 ฝ่ายไทยโดยนายกันตธีร์ ศุภมงคล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้เดินทางไปเยือนเยเมนอย่างเป็นทางการ พร้อมร่วมการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศ ของ OIC ที่กรุงซานอา นับเป็นการเยือนระดับรัฐมนตรีครั้งแรกของไทย ฝ่ายเยเมนยังไม่เคยมาเยือนไทย อย่างเป็นทางการ อย่างไรก็ดี เมื่อวันที่ 4-6 พฤศจิกายน 2548 ประธานาธิบดีอาลี อับดุลเลาะห์ ซอและห์ ได้เดินทางมาแวะผ่านและพำนักในไทย และได้พบหารือกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ (นายกันตธีร์ ศุภมงคล) ซึ่งทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องที่จะส่งเสริมความร่วมมือด้านการค้า การท่องเที่ยว และการประมง และความร่วมมือในเวที OIC
 
ด้านเศรษฐกิจ
 
        การค้าระหว่างไทยกับเยเมนในปี 2552 มีมูลค่ารวม 1,263.33 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ไทยส่งออก 233.94 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นำเข้า 795.45 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สินค้าออกที่สำคัญของไทย ได้แก่ ข้าว รถยนต์อุปกรณ์และส่วนประกอบ อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป น้ำตาลทราย เครื่องดื่ม ผลิตภัณฑ์ยา ผลไม้กระป๋องและแปรรูป รองเท้าและชิ้นส่วน และผลิตภัณฑ์พลาสติก สินค้าเข้าสำคัญจากเยเมน ได้แก่ น้ำมันดิบ สัตว์น้ำทะเลแช่แข็งและแปรรูป สินแร่ โลหะและเศษโลหะผลิตภัณฑ์ เป็นต้น
 
        ในระยะ 3 ปีที่ผ่านมา ฝ่ายไทยได้เล็งเห็นศักยภาพของตลาดเยเมน จากการเป็นตลาดใหญ่และตั้งอยู่ในทำเลที่สามารถเป็นประตูกระจายสินค้าสู่แอฟริกาตะวันออกได้เป็นอย่างดี โดยเมื่อเดือนมีนาคม 2547 กระทรวงพาณิชย์ ได้นำคณะนักธุรกิจไทยไปติดต่อเจรจาการค้ากับนักธุรกิจเยเมน ตามโครงการ Thai Export Rally รวมทั้งได้จัดงานแสดงสินค้า (Thailand Exhibition) ที่กรุงซานอา และเมืองอาเดน ในปี 2547 และ 2548
 
ด้านสังคมและวัฒนธรรม
 
        ความร่วมมือทางวิชาการ
 
         ฝ่ายเยเมนประสงค์ที่จะได้รับความร่วมมือจากไทยในด้านการชลประทานและการทำฝนเทียม ประธานาธิบดีเยเมนได้หยิบยกเรื่องนี้ ในการหารือกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ (นายกันตธีร์ ศุภมงคล) ระหว่างการเยือนเยเมนเมื่อเดือนมิถุนายน 2548 โดยประสงค์จะให้มีผู้เชี่ยวชาญจากไทยเดินทางไปศึกษาสำรวจความเป็นไปได้ในเยเมนและจัดส่งเจ้าหน้าที่มาดูงานในไทย
 
        ความร่วมมือด้านการบิน
 
         ปัจจุบัน สายการบิน Yemenia ซึ่งเป็นสายการบินแห่งชาติของเยแมน ประสงค์จะเปิดเส้นการบินกรุงเทพฯ-ซานอา เพื่อให้บริการชาวเยเมนซึ่งเดินทางมาติดต่อธุรกิจ ท่องเที่ยวและรับการรักษาพยาบาลในไทย
 
การแลกเปลี่ยนการเยือน
 
        ฝ่ายไทย
 
          - วันที่ 28-30 มิถุนายน 2548 นายกันตธีร์ ศุภมงคล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เดินทางไปเยือนเยเมนอย่างเป็นทางการและร่วมในการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศขององค์การการประชุมอิสลาม (OIC) ครั้งที่ 32 ที่กรุงซานอา
         ฝ่ายเยเมน
 
          - วันที่ 4-6 พฤศจิกายน 2548 ประธานาธิบดีอาลี อับดุลเลาะห์ ซอและห์ได้เดินทางมาแวะผ่านและพำนักในไทย
          - วันที่ 31 มีนาคม – 1 เมษายน 2547 นาย Abdulghader Abdurahman Bagamal นายกรัฐมนตรี เดินทางโดยเครื่องบินพิเศษจากสาธารณรัฐประชาชนจีนมาแวะพำนักในไทย
          - วันที่ 12 - 19 กุมภาพันธ์ 2543 นาย Abdulaziz Nasser Al-Komain รัฐมนตรีว่าการกระทรวง Supply and Trade เดินทางมาเข้าร่วมการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา (UNCTAD) ครั้งที่ 10 ที่กรุงเทพฯ

ความตกลงและความร่วมมือ

- ความตกลงว่าด้วยบริการเดินอากาศ 
วันที่ลงนาม 28 กรกฎาคม 2543

เอกสารประกอบ

other-20180706-162210-080373.pdf