แอฟริกา
โมร็อกโก
ราชอาณาจักรโมร็อกโกเป็นหนึ่งในสามประเทศ จากทั้งหมด 53 ประเทศในทวีปแอฟริกาที่ยังคงมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขของประเทศ (อีกสองประเทศ คือ ราชอาณาจักรเลโซโท และสวาซิแลนด์) มีความแตกต่างจากประเทศส่วนใหญ่ในทวีปแอฟริกา ที่บ้านเมืองมีความทันสมัยกว่า เนื่องจากครั้งหนึ่งประเทศทางยุโรปอย่างฝรั่งเศสและสเปน ได้เข้ามามีบทบาททางการเมืองการปกครองประเทศ และได้วางรากฐานการศึกษา สาธารณสุข และการคมนาคม อีกทั้งประชากรมีความแตกต่างทางชาติพันธุ์จากประชากรส่วนใหญ่ของทวีปแอฟริกา ที่เป็นชนชาตินิกรอยหรือแอฟริกันนิโกร อันเนื่องมาจากการไหลบ่าของชาวฝรั่งเศส และชาวสเปนที่เข้ามาตั้งรากฐานในโมร็อกโก จึงทำให้ประชากรของโมร็อกโกเป็นชนชาติคอเคซอยด์ ได้แก่ ชาวอาหรับ ชาวเบอร์เบอร์ และชาวยุโรปอย่าง ฝรั่งเศสและสเปน เป็นต้น จึงอาจกล่าวได้ว่า ราชอาณาจักรโมร็อกโกมีความเป็นยุโรปที่ดูทันสมัย และเจริญกว่าประเทศส่วนใหญ่ในทวีปเดียวกัน ในบทความนี้จะกล่าวถึงประวัติศาสตร์ของราชอาณาจักรโมร็อกโก สำหรับเป็นข้อมูลเพื่อบุคคลทั่วไปที่สนใจ เพื่อเป็นพื้นฐานความรู้ความเข้าใจในเรื่องอื่นๆ เกี่ยวกับประเทศโมร็อกโกในภายหน้า
ราชอาณาจักรโมร็อกโก ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของทวีปแอฟริกา มีอาณาเขตติดต่อกับทะเลเมดิเตอร์เรเนียน และมหาสมุทรแอตแลนติก มีช่องแคบยิบรอลตาร์แบ่งกั้นสเปน และโมร็อกโก กล่าวถึงประวัติศาสตร์ของโมร็อกโกยุคก่อนประวัติศาสตร์เรื่อยไปถึงอารยธรรม โบราณอย่างย่อๆ บริเวณที่เป็นประเทศโมร็อกโก ในปัจจุบันนี้แต่ก่อนมีชาวฟีนิเชียนเข้าไปทำการค้า และตั้งที่ทำการค้าบริเวณชายฝั่งเมื่อราว 1,100 ปีก่อนคริสตกาล ต่อมาชาวคาร์เธจก็เข้ามาตั้งอาณาจักร และสร้างอารยธรรมรุ่งเรืองอยู่บริเวณชายฝั่ง แต่ภายหลังก็ต้องเสื่อมอำนาจไปเนื่องจากชาวโรมันได้เข้ามาในภูมิภาคนี้ และเรืองอำนาจแทน โดยมีชนพื้นเมืองคือชาวเบอร์เบอร์คอยอยู่คู่ประวัติศาสตร์ของโมร็อกโกตลอดมา แต่ประวัติศาสตร์ในช่วงหลังจากนี้ต่างหาก ที่เป็นช่วงสำคัญที่มีอิทธิพลต่อราชอาณาจักรโมร็อกโกในปัจจุบัน
ชาวเบอร์เบอร์ในโมร็อกโก (Moroccan Berbers)
ภูมิศาสตร์ที่ดึงดูดความสนใจจากประเทศทางยุโรปอย่างสเปน ฝรั่งเศส อิตาลี หรือตุรกี คือบริเวณชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียนทางตอนเหนือของทวีปแอฟริกา หรืออีกชื่อหนึ่งคือ ชายฝั่งบาร์บารี (Barbary Coastline) ทำให้ตลอดช่วงศตรวรรษที่16 ประเทศมหาอำนาจทางชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียนใหญ่ๆอย่างสเปน และตุรกีต้องการเข้ายึดครองชายฝั่งบาร์บารี ท้ายที่สุดตุรกีเป็นฝ่ายมีชัย ตุรกีอนุญาตให้โจรสลัด หรือ corsair เข้าตั้งฐานกำลังตามบริเวณชายฝั่งบาร์บารี แล้วดินแดนแถบนั้นที่โจรสลัดเข้ายึดครองก็จะกลายเป็นดินแดนในอารักขาภายใต้ราชอาณาจักรตุรกี หรือ ราชอาณาจักรออตโตมัน (Ottoman Empire) ในศตวรรษที่19 หลังจากสามศตวรรษที่โจรสลัดเข้ายึดครองดินแดนชายฝั่งบาร์บารี ฝรั่งเศสที่สนใจดินแดนชายฝั่งบาร์บารีอยู่เหมือนกันก็ประกาศว่าจะเข้าไปทำ การยุติการการะกระทำของโจรสลัดเติร์กที่สร้างความไม่พอใจแก่คนเดินเรืออยู่ มากในเวลานั้น โดยฝรั่งเศสเข้ายึดครองแอลจีเรียนในปีค.ศ.1830 จะเห็นได้ว่าประเทศมหาอำนาจใหญ่ๆในยุโรปได้ให้ความสำคัญกับดินแดนแถบนี้มาเป็นเวลานานมากแล้ว
ชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียนที่เมืองเตโตอวน (Tetouan - ภาพซ้ายมือ) และแทนเจียร์ (Tangier - ภาพขวามือ) ของโมร็อกโก

ภาพชายฝั่งทะเลของเมืองแทนเจียร์ (Tangier)
กระนั่นเองชาวโมร็อกโกไม่ต้องการให้ชาวสเปนและฝรั่งเศสเข้ามาหาประโยชน์ จากผืนแผ่นดินของตน จึงเกิดการต่อต้านขึ้นจากชาวโมร็อกโกรวมไปถึงชาวเบอร์เบอร์ท้องถิ่นด้วย วีรบุรุษในการประท้วงต่อต้านครั้งนายคือ นาย Abd el Krim โดยที่เขาสามารถเอาชนะกองทัพทหารสเปนจำนวน 20,000 คน ในค.ศ. 1921 ซึ่งเขาได้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าของชนเผ่าเบอร์เบอร์ในแคว้นริฟ (Rif) จนกระทั่งต้องพ่ายแพ้ต่อกองกำลังทหารผสมของสเปนและฝรั่งเศสใน ค.ศ. 1926 เป็นห้าปีแห่งการประท้วงต่อต้านที่สร้างแรงบันดาลใจให้แก่คนหนุ่มสาวรุ่น ใหม่ที่มีการศึกษาของโมร็อกโกที่ภายหลังออกมาเรียกร้องเสรีภาพและเอกราชของโมร็อกโกจากฝรั่งเศสและสเปน สงครามโลกครั้งที่สองปะทุขึ้น (ค.ศ. 1939-1945) นับเป็นจังหวะที่ดีในการเรียกร้องเสรีภาพของโมร็อกโก ค.ศ.1943 เกิดการจัดตั้งพรรคการเมืองของกลุ่มชาตินิยมชื่อว่า Istiqualal แปลตรงตัวว่า เอกราช บทบาทสำคัญคือการเรียกร้องเอกราชจากฝรั่งเศส จากจำนวนสมาชิกเพียงหนึ่งหมื่นคนในค.ศ. 1947 เพิ่มขึ้นเป็นหนึ่งแสนคนในค.ศ. 1951 การเคลื่อนไหวพรรคการเมืองในครั้งนี้มีสุลต่าน Mohammed V คอยสนับสนุนจนกระทั่งพระองค์ถูกกักบริเวณอยู่ระยะหนึ่งและภายหลังถูกเนรเทศไปยังเกาะ มาดากัสการ์เป็นเวลา 2 ปี กระทั่งในที่สุดปี 1956 ฝรั่งเศสและสเปนก็ยอมถอนตัวออกจากโมร็อกโก ยกเว้นในเมืองเซปตาและเมืองเมลิยาที่ยังคงเป็นของสเปน โดยให้สุลต่าน Mohammed V ที่ถูกเนรเทศไปเกาะมาดากัสการ์กับมายังโมร็อกโก ทรงขึ้นครองราชยสถาปนาพระองคเป็นกษัตริย์แห่งราชวงศ?อลาวิตองค์ที่สิบสาม โดยเป็นครั้งแรกที่มีการเปลี่ยนจากสุลต่านเป็นพระราชาธิบดีแทน พระองค์ได้พัฒนาโมร็อกโกในด้านต่างๆ ทรงเสด็จสวรรคตใน ค.ศ. 1961 จากนั้นสมเด็จพระราชาธิบดีฮัสซันที่สองทรงครองราชย์จนถึงค.ศ. 1999 เมื่อเสด็จสวรรคต พระโอรสในสมเด็จพระราชาธิบดีฮัสซันที่สอง ซิดี้ โมฮัมเหม็ด บินฮัสซัน (Sidi Mohammed Ben Hassan) เสด็จขึ้นครองราชย์ต่อเมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม ค.ศ. 1999 ทรงมีพระนามว่าพระราชาธิบดีโมฮัมเหม็ดที่หก มีพระชายาคือเจ้าหญิงลาลาซัลมา (Princess Lalla Salma) ผู้เคยเสด็จพระราชดําเนินมาประเทศไทยเพื่อทรงร่วมงานฉลองสิริราชสมบัติครบ60 ปีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในฐานะผู้แทนพระองค?สมเด็จพระราชาธิบดีฯ
ภาพเมืองเฟซ (Fes)
ราชอาณาจักรโมร็อกโก ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของทวีปแอฟริกา มีอาณาเขตติดกับทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและมหาสมุทรแอตเลนติก ชายฝั่งโมร็อกโกมีปลาซาดีน ปลาทูน่า และปลาโบนิโต อยู่ชุกชุม แต่กระนั้นก็ยังไม่สามารถตักตวงผลผลิตทางทะเลที่มีอยู่อย่างสมบูรณ์ได้อย่าง เต็มที่ เนื่องจากโมร็อกโกขาดเทคโนโลยีประมงที่ทันสมัย แต่โมร็อกโกก็ยังคงเป็นตลาดค้าปลาที่ใหญ่ที่สุดในทวีปแอฟริกา นอกจากนี้ในปี2006 โมร็อกโกยังทำสัญญาทางการค้ากับ EU โดยที่โมร็อกโกอนุญาตให้เรือประมงสัญชาติยุโรปซึ่งโดยส่วนมากแล้วเป็นเรือ ประมางสัญชาติสเปน สามารถเข้ามาหาปลาในน่านน้ำโมร็อกโกได้ โดยที่ทางโมร็อกโกจะได้รับเงินชดเชยจาก EU 144 ล้านยูโร โมร็อกโกได้แบ่งเงินจำนวน 36 ล้านยูโรออกจากเงินชดเชยจำนวนนี้ออกมาสำหรับพัฒนาด้านการประมงโดยเฉพาะ การทำสัญญาทางการค้าระหว่างโมร็อกโกและ EU ในเรื่องการประมงแบบนี้เคยเกิดขึ้นแล้วระหว่างปี1995 โดยที่ครั้งนั้นก็เป็นลักษณะสัมปทานสี่ปีเช่นเดียวกัน
----------------------------------
อ้างอิง
-
อมาตยกุล, สุภาศิริ. โมร็อกโก: ดินแดนแห่งศิลปะและวัฒนธรรมอันหลากหลาย. หนังสือวิทยุสราญรมย์, 34. กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ.
-
Iliffe, John; Africans: the history of a continent, 1995
-
?History of Morocco?, History World. From 2001 ongoing. http://www.historyworld.net/wrldhis/PlainTextHistories.asp?historyid=ac97
-
?Morocco ? History?, Morocco. http://www.nationsencyclopedia.com/Africa/Morocco-ECONOMY.html
http://www.photos4travel.com/travel-guides/morocco/map
http://blog.travel-exploration.com/category/morocco-travel-traditional-moroccan-wedding-photographs
http://www.rediscover.co.uk/tangier.htm
http://www.bestourism.com/medias/dfp/2569
หากท่านใดต้องการเผยแพร่บทความหรือข้อมูลจากเว็บไซต์ เพื่อความรู้หรือประโยชน์ทางการศึกษา โปรดอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูลให้ชัดเจน
และกรุณาแจ้งให้ทราบที่ » E-mail : sameaf.info@gmail.com